ค้นหาบล็อกนี้

หวาย


วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช



วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ๒ งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติการสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็นเอกสารที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสารที่ชัดเจนปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงอาราธนาพระสงฆ์จากวัดเพชรจริกมาดูแลรักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ ๖ เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประวัติจากตำนานที่เล่าเรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวน สามารถประมวลเนื้อหาได้ว่าเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บรักษาเคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพมาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้พระนางเหมชาลาและเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตก ทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสองพระองค์ได้กลับไปลังกาโดยมีพระทันตธาตุสวนหนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้มาพบพระทันตธาตุและโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราช พระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็นสถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๕ ต่อมาพระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดนนครศรีธรรมราชเข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราชจึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า สุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่า พระบรมธาตุเจดีย์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์ กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชก็ควรสร้างหลังจากนั้นมาก ส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะมีสิ่งก่อสร้างในสมัยธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น

การบูรณะตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เท่าที่ค้นคว้าได้มีดังนี้
๑. สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. ๒๑๕๕ และ ๒๑๕๙ มีการซ่อมแผ่นทองที่ปลียอดพระบรมธาตุ
๒. สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๙๐ ยอดพระบรมธาตุได้ชำรุดหักลง และได้มีการซ่อมสร้างขึ้นใหม่
๓. สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. ๒๒๗๕ - ๒๓๐๑ มีการดัดแปลงทางเข้าพระสถูปพระบรมธาตุบริเวณวิหารพระทรงม้า
๔. สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช พ.ศ. ๒๓๑๒ ปฏิสังขรณ์พระอารามทั่วไปภายในวัด และโปรดให้สร้างวิหารทับเกษตรต่อออกจากฐานทักษิณรอบองค์พระธาตุ
๕. สมัยพระบาทพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัด) บูรณะพระวิหารหลวง วิหารทับเกษตร พระบรมธาตุที่ชำรุด
๖. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่โดยพระครูเทพมุนี (ปาน) บูรณะกำแพงชั้นนอก วิหารทับเกษตร วิหารธรรมศาลา วิหารพระทรงม้า วิหารเขียน ปิดทองพระพุทธรูป
๗. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๔๕๗ ติดตั้งสายล่อฟ้าองค์พระบรมธาตุเจดีย์
๘. สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช รัชกาลปัจจุบัน บูรณะโดยกรมศิลปากร ดังต่อไปนี้คือ
- พ.ศ. ๒๕๑๐ บูรณะปฏิสังขรณ์วิหารธรรมศาลา
- พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๑๗ บูรณปฏิสังขรณ์ พระวิหารหลวงและพระอุโบสถ
- พ.ศ. ๒๕๒๐ บูรณะวิหารทับเกษตรส่วนหลังคา
- พ.ศ. ๒๕๒๒ จ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย ( AIT) ทำการวิจัยและสำรวจโครงสร้าง ความมั่นคงแข็งแรงของฐานรากและตัวองค์พระบรมธาตุ
- พ.ศ. ๒๕๒๓ บูรณะวิหารทับเกษตรทั้งหลัง
- พ.ศ. ๒๕๒๔ ทำความสะอาดกำจัดคราบสกปรก เช่นตะไคร่น้ำ รา อุดรอยแตก อาบน้ำยา ป้องกันการดูดซึมที่องค์พระบรมธาตุเจดีย์
- พ.ศ. ๒๕๒๕ อนุรักษ์เจดีย์ทิศบนฐานทักษิณ ๔ องค์ กำแพงแก้วฐานทักษิณ ซ่อมเครื่องสูงซ่อมทางระบายน้ำ และปูนทับหลังคาทับเกษตร ทำความสะอาดคราบสกปรกและอาบน้ำยาป้องกันการดูดซึมของน้ำที่ผิวปูนฉาบอง๕พระบรมธาตุ
- พ.ศ. ๒๕๓๐ ซ่อมกลีบบัวทองคำที่ฉีกขาดเปราะบาง เสื่อมสภาพเป็นสนิม เสริมความมั่นคงแข็งแรงที่กลีบบัวปูนปั้น ในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๕๓๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมธาตุโอรสสาธิราช สยามมกุฏราชกุมารเสด็จอัญเชิญแผ่นกลีบบัวทองคำขึ้นประดิษฐ์บนองค์พระบรมธาตุเจดีย์
- พ.ศ. ๒๕๓๓ บูรณะองค์พระบรมธาตุตั้งแต่วิหารทับเกษตรไปจนถึงระดับกลีบบัวคว่ำ – บัวหงายทองคำ
- พ.ศ. ๒๕๓๗ - ๒๕๓๘ บูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ และเสริมความมั่นคงปูนแกนในปลียอด ใช้งบประมาณทั้งสิ้น ๕๐ ล้านบาท สิ้นทองคำ ๑๔๑ บาท
- พ.ศ. ๒๕๓๙ บูรณะพระวิหารหลวง งบประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๔๒ บูรณะพระวิหารหลวง วิหารธรรมศาลา วิหารเขียน และพระระเบียงคด งบประมาณ ๓๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ข้อมูลจาก
http://www.oknation.net
http://maps.google.co.th/maps?ie=UTF-8&hl=th&tab=wl

พระธาตุเชิงชุม สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร


พระธาตุเชิงชุม ประดิษฐานอยู่บนเนินสูง ในวัดพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร ริมหนองหาร อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
ตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จจากพระวิหารเชตวัน มาทางดินแดนทางทิศตะวันออก เพื่อโปรดสัตว์ เมื่อเสด็จตามลำแม่น้ำโขง ก็ได้ประทับรอยพระพุทธบาทมาตามลำดับ มีพระพุทธบาทบัวบก พระพุทธบาทโพนเพล พระพุทธบาทเวินปลา แล้วมาพักฉันภัตตาหารที่ภูกำพร้า อันเป็นที่ตั้งของพระธาตุพนม จากนั้นได้เสด็จไปโปรดพระเจ้าสุวรรณภิงคาระ และได้ประทับพระพุทธบาทที่ภูเขาน้ำลอดเชิงชุม รวมกับพระพุทธบาทของ อดีตพระพุทธเจ้าองค์ก่อนอีก 3 พระองค์ คือ พระพุทธเจ้าพระนามกกุสันธะ พระพุทธเจ้าพระนามโกนาคมะ และพระพุทธเจ้าพระนามกัสสปะ เมื่อพระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงทราบข่าว จึงได้เสด็จออกต้อนรับ พร้อมทั้งพระนางนารายณ์เจงเวงราชเทวี พระพุทธเจ้ามีพุทธประสงค์ให้พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น จึงทรงแสดงปาฏิหารย์บันดาลให้มีดวงมณีรัตน์มีรัศมี พวยพุ่งออกจากพระโอษฐ์พร้อมกันสามดวง พระเจ้าสุวรรณภิงคาระทรงเห็นเป็นอัศจรรย์ก็บังเกิดศรัทธา เปล่งวาจาสาธุการด้วยความปิติ พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ณ ที่นี้เป็นสถานที่อันอุดมประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์ จะได้มาประชุมรอยพระพุทธบาทไว้ เพื่อเป็นที่สักการะแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย พระเจ้าสุวรรณภิงคาระ บังเกิดความปิติโสมนัส จึงได้ถอดมงกุฎทองคำของพระองค์ สวมลงบูชารอยพระพุทธบาท แล้วทรงสร้างเจดีย์ครอบไว้ จึงได้ชื่อว่าพระธาตุเชิงชุมแต่นั้นมา เนื่องจากเป็นที่ชุมนุมของพระพุทธบาทของพระพุทธเจ้าสี่พระองค์

พระธาตุเชิงชุม เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงสี่เหลี่ยม สูง 24 เมตรเศษ ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนบนเป็นทรงบัวเหลี่ยม ไม่มีลวดลายประดับ ที่ฐานเจดีย์ มีซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ซุ้มยอดประตูมีลักษณะเป็นยอดปราสาท ข้างในทึบสร้างด้วยศิลาแลง และหินทรายแดง ส่วนที่เห็นอยู่ปัจจุบันเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่ ครอบองค์เดิมไว้ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างสมัยใด ประตูด้านทิศตะวันออกที่เชื่อมต่อกับพระวิหาร จะมีซุ้มเป็นคูหาลึกเข้าไป ด้านขวามือมีศิลาแลง จารึกอักษรขอมติดอยู่ ตัวอักษรลบเลือนมาก อ่านไม่ออก
พระอุโบสถหลังเดิมหรือสิมเก่า มีลักษณะเป็นสิมแบบโถง โครงสร้างเป็นไม้ก่ออิฐถือปูน หลังคาเป็นกระเบื้องไม้แบบเดิม หันหน้าไปทางทิศใต้ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2370 ครั้งพระธานีเป็นเจ้าเมือง ภายในมีจิตรกรรมเป็นภาพเถาไม้เลื้อยเป็นแนวรอบอาคาร หน้าบันมีจิตรกรรมฝาผนังเป็นรูปเทพบุตรและเทพธิดา ดาวประจำยาม มังกรและเถาไม้เลื้อย ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์ ทั้งที่สร้างด้วยไม้และเป็นปูนปั้น
ภายในพระวิหารประดิษยฐาน หลวงพ่อพระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปเชียงแสน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวสกลนคร
งานมนัสการพระธาตุประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือนยี่ ในวันเริ่มงานจะมีการจุดพลุ ย่ำฆ้องกลองเป็นที่เอิกเริก วันสุดท้ายของงานตอนเช้า จะมีการตักบาตรพระสงฆ์รอบองค์พระธาตุ ตอนบ่ายจะมีการสรงน้ำองค์พระธาตุ กลางคืนมีการประกวดขบวนแห่โคมไฟ จากนั้นก็มีการจุดบั้งไฟและไฟพะเนียง




ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ข้อมูลจาก
http://www.heritage.thaigov.net/religion/pratat/index07.htm
http://maps.google.co.th/maps?ie=UTF-8&hl=th&tab=wl

พระธาตุพนม สถานที่ท่องเที่ยวของจังหวัดนครพนม



พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้ งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้ "กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ" แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ที่มา
1. http://www.thatpranom.com/phathatphanom.php
2.http://maps.google.co.th/maps?hl=th&ie=UTF-8&tab=wl

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย GPRS



ปัจจุบันมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS ในประเทศไทยกันมากขึ้น เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นเสาสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ของบริษัทต่าง ๆ มีให้บริการกันมากขึ้นและครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศ อุปกรณ์การเชื่อมต่อหรือโทรศัพท์มือถือหลากหลายยี่ห้อต่างก็รองรับการทำงานของบริการ GPRS กันทั้งนั้น แถมยังมี Bluetooth ให้เราได้ใช้งานกันอีก(ไม่ต้องวิ่งหาสายเคเบิ้ลเพื่อต่อ Modem กันแล้ว) ประกอบกับค่าบริการ GPRS ของผู้ให้บริการมีราคาถูกลง (ในอนาคตหากลดลงอีกผู้ใช้จะมากขึ้นนะครับ) เฉลี่ยนาทีละ 1 บาท วันนี้ผมขอแนะนำ Solution ที่ผมใช้งานอยู่ก็นับว่าวิธีการที่สะดวกมาก เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์ หรือผู้บริหารที่ต้องเดินทางบ่อย ๆ และต้องใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าท่านจะอยู่บนเกาะ ชนบท กลางทุ่งนา ก็สามารถ access internet ได้ทุกที่ที่มีสัญญาณโทรศัพท์มือถือไปถึง ความเร็วที่ได้จะประมาณ 115 kbps ต่อวินาที ประมาณ 2 เท่าของการ Dial up ผ่าน Modem ทั่ว ๆ ไป นับว่าใช้งานได้ดีทีเดียวรูปแบบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย GPRS ผ่านโทรศัพท์มือถือDTAC NetworkBluetooth link
รูปแบบที่ 1 การเชื่อมต่อผ่าน GPRS เพื่อให้ Pocket PC ใช้อินเทอร์เน็ตได้DTAC Network Bluetooth link
รูปแบบที่ 2 การเชื่อมต่อผ่าน GPRS เพื่อให้ Notebook ใช้อินเทอร์เน็ตได้อุปกรณ์ที่ ต้องเตรียม
1. คอมพิวเตอร์ Notebook หรือ Pocket PC ที่มีการรองรับการทำงานของ Bluetoothเนื่องจากเราไม่ต้องการใช้สายเคเบิ้ลเชื่อมต่อไปยังโทรศัพท์
2. โทรศัพท์มือถือที่รองรับการทำงาน Bluetooth แบบ Dial up ซึ่งส่วนใหญ่ โทรศัพท์ในปัจจุบันรองรับอยู่แล้ว และโทรศัพท์นี้สามารถใช้ GPRS ได้
3. ติดต่อขอใช้บริการ Internet ผ่าน GPRS กับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ท่านใช้งานอยู่ แล้วเลือก Package การให้บริการตามความเหมาะสมกับการใช้งานของท่านครับ บทความนี้เป็นบทความที่นำเสนอเรื่องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน GPRS โดยใช้มือถือซึ่ง น่าจะเป็นคำตอบที่ดีสำหรับหลาย ๆ ท่านที่กำลังมองหาวิธีการอยู่ จะเห็นได้ว่าเราไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ GPRS จากภายนอกเลย

ข้อมูลจากhttp://www.oknation.net/blog

อินเทอร์เน็ต คืออะไร


อินเทอร์เน็ต คืออะไร
อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน
IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข
1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254
1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534
1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214
ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต
1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้
2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น
3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น
4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น
5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง
6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร
ประวัติความเป็นมา
1 ประวัติในระดับนานาชาติ
- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)
- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
2 ประวัติความเป็นมาอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
- อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย เริ่มต้นเมื่อปีพ.ศ.2530(ค.ศ.1987) โดยการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ระหว่างมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(http://www.psu.ac.th)และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (http://www.ait.ac.th) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย(http://www.unimelb.edu.au) แต่ครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ (Dial-up line) ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้า และไม่เสถียร จนกระทั่ง ธันวาคม ปีพ.ศ.2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 6 แห่ง เข้าด้วยกัน (Chula, Thammasat, AIT, Prince of Songkla, Kasetsart and NECTEC) โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่า ไทยสาร(http://www.thaisarn.net.th) และขยายออกไปในวงการศึกษา หรือไม่ก็การวิจัย การขยายตัวเป็นไปอย่างต่อเนื่องจนเดือนกันยายน ปี พ.ศ.2537 มีสถาบันการศึกษาเข้าร่วมถึง 27 สถาบัน และความต้องการใช้อินเทอร์เน็ตของเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย (http://www.cat.or.th) เปิดโอกาสให้ภาคเอกชน สามารถเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP - Internet Service Provider) และเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไป สามารถเชื่อมต่อ Internet ผ่านผู้ให้บริการที่ได้รับอนุญาตจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย

ที่มา
http://www.thaiall.com/internet/internet02.htm

เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายให้เหมาะกับที่บ้าน


พูดเรื่องเทคโนโลยีไร้สายในปัจจุบัน หันไปทางไหนก็มีแต่คนพูดถึงค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะกับระบบเครือข่าย ที่แค่หิ้วโน้ตบุ๊กก็สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องต่อสายแต่อย่างใด เรื่องราวของเน็ตเวิร์กไร้สาย ก็อย่างที่ได้กล่าวกันไปแล้วใน Cover Story ฉบับก่อนๆ เรียกว่าหากใครสนใจใคร่รู้เรื่องระบบเครือข่ายไร้สาย คงจะเข้าใจกันไปพอสมควรแล้วทีนี้ก็มีบางประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคนที่อยากนำเครือข่ายไร้สายไปประยุกต์ใช้งานด้วยตัวเอง ว่าควรต้องรู้อะไรเพิ่มเติมบ้าง โดยเนื้อหาในฉบับนี้ ผมขอนำคุณผู้อ่านเข้าสู่โลกไวร์เลสส์เน็ตเวิร์กกันอีกครั้ง เพื่ออัพเดตเนื้อหา รวมถึงการนำระบบเครือข่ายไร้สายไปใช้งานจริงด้วย
เลือกระบบให้ถูกต้อง
ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือที่เห็นกันบ่อยๆ ในชื่อ 802.11 นั้น เป็นหนึ่งในสมาชิกของระบบเครือข่ายตามมาตรฐานของ IEEE ซึ่ง 802.11 คือมาตรฐานของเครือข่ายไร้สาย หรือจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Wireless Ethernet ก็ได้ เพราะจะทำงานในรูปแบบคล้ายๆ กัน สำหรับระบบ 802.11 มีการแบ่งใช้งานอยู่ 3 มาตรฐานด้วยกัน นั่นคือมาตรฐาน a b และ g ซึ่งมาตรฐาน b กับ g นั้น จะทำงานในย่านความถี่ ISM Band ที่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ส่วนมาตรฐาน a จะทำงานในย่านความถี่ ISM band 5.7 กิกะเฮิรตซ์ โดย a กับ g สามารถทำงานร่วมกันได้ ส่วน g ถือเป็นวิวัฒนาการอีกขั้นหนึ่งของ b เพื่อเพิ่มความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลให้สูงกว่าเดิม ISM band คืออะไร? ISM ย่อมาจาก Industrial Sciences Medicine หรือคลื่นความถี่สาธารณะสำหรับอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ และการแพทย์ โดยย่านความถี่สำหรับคลื่นวิทยุในโลกนี้ จัดได้ว่ามีการควบคุมการเป็นเจ้าของหรือใช้งาน ซึ่งงานวิจัยสำหรับการขอคลื่นความถี่มาใช้งานทำได้ค่อนข้างยาก จึงมีการตั้ง ISM band นี้ขึ้นมาสำหรับการวิจัยโดยเฉพาะ โดยแบ่งเป็นสามย่านความถี่ คือ 900 เมกะเฮิรตซ์, 2.4 กิกะเฮิรตซ์ และ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ สำหรับ Wireless Network 802.11 จะใช้สองย่านความถี่หลัง แต่เนื่องจากความถี่ 5.7 กิกะเฮิรตซ์ นั้น มีการยอมให้ใช้ได้เฉพาะบางประเทศเท่านั้น (ส่วนที่เหลืออาจจะถูกจัดสรรไปให้กับองค์กรต่างๆ ก่อนจะมีการประกาศ ISM Band ออกมา) ทำให้มาตรฐาน a ไม่สามารถใช้งานได้ในประเทศบางประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย เราจึงใช้งานได้เฉพาะ 802.11b และ g เท่านั้น (การพัฒนามาตรฐาน g ก็มาจากเหตุผลนี้เช่นกัน)
มาตรฐาน b และ g ต่างกันอย่างไร ?
ในที่นี้ขอพูดเพียงแค่มาตรฐาน b และ g เท่านั้น ส่วน a คงต้องตัดออกไป เพราะยังไงก็ไม่สามารถจะนำมาจำหน่ายอย่างถูกกฏหมายในบ้านเราได้ ซึ่งรายละเอียดของความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน b และ g นั้น จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง และลงรายละเอียดด้านเทคนิคค่อนข้างมาก ทั้งในเรื่องของการโมดูเลชันที่แตกต่างกัน การเข้ารหัส รวมทั้งการคอมเพรสชัน แต่สรุปโดยรวมก็คือ มาตรฐาน b กับ g จะแตกต่างกันในเรื่องของแบนวิดธ์ในการส่งข้อมูลเป็นหลัก โดยที่มาตรฐาน b ทำได้เพียง 11 เมกะบิตต่อวินาทีเท่านั้น ส่วน g สามารถทำได้ถึง 54 เมกะบิต (ซึ่งอันที่จริงความเร็ว 11 เมกะบิต และ 54 เมกะบิตที่ว่า จะมีอัตราการส่งข้อมูลได้เพียง 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น เท่ากับว่า 11 เมกะบิต จะเหลือเพียงประมาณ 6 เมกะบิต ส่วน 54 เมกะบิต เหลือเพียง ประมาณ 30 เมกะบิต ส่วนที่เหลือจะเป็นการโอเวอร์เฮด เพื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูลน้อยที่สุด) นอกเหนือจากเรื่องของความถี่แล้ว ยังมีผลในเรื่องของขอบเขตการใช้งานด้วย เช่น มาตรฐาน b จะมีรัศมีการให้บริการอยู่ที่ 100 ฟุต แต่ถ้าเป็น g จะลดลงมาอีก ซึ่งหมายความว่า g จะมีขอบเขตการให้บริการที่น้อยกว่า สาเหตุก็เพราะต้องการให้ข้อมูลส่งไปถึงปลายทางได้อย่างไม่มีข้อผิดพลาด หรือเกิดขึ้นน้อยที่สุด เนื่องจากว่ายิ่งไกลเท่าไหร่ อัตราการรบกวนของคลื่นวิทยุก็จะมีสูงขึ้นเท่านั้น ดังกล่าว หากใช้มาตรฐาน g ในระยะทางเท่ากับ b การรับส่งข้อมูลก็อาจเกิดความผิดพลาดได้มากกว่า เนื่องจากความหนาแน่นของข้อมูลของมาตรฐาน g นั้น มีมากกว่า b หลายเท่า
ย่านความถี่ ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม
ปัญหาอย่างหนึ่งสำหรับเครือข่ายไร้สายคือ การรบกวนกันของคลื่นสัญญาณ โดยเฉพาะย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์นั้น มีอุปกรณ์มากมายที่ใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นตู้ไมโครเวฟ โทรศัพท์บ้านไร้สาย และอุปกรณ์ Bluetooth ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือว่าพีดีเอ ซึ่งอุปกรณ์ทั้งหมดที่กล่าว ต่างก็สามารถรบกวนการส่งสัญญาณของเครือข่ายไร้สายได้ แถมที่หนักหนาสาหัสก็คือ หากมีการใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ใกล้เครือข่ายไร้สายมากๆ เครือข่ายไร้สายนั้นๆ ก็อาจจะใช้งานไม่ได้ทีเดียว แล้วเราจะทำอย่างไรดี? อันที่จริงจากการพัฒนามาโดยตลอดทำให้ปัญหาเหล่านี้ลดน้อยลง เช่น โมโครเวฟก็มีการซิลด์ที่ดีขึ้น มีการรั่วไหลของคลื่นไมโครเวฟน้อยลง จึงไม่เป็นปัญหาแต่อย่างใดสำหรับระบบเครือข่ายไร้สาย แต่ที่ดูจะเป็นปัญหาใหญ่ในปัจจุบันก็คือ คลื่นบลูทูธ และโทรศัพท์บ้านไร้สายในย่านความถี่ 2.4 กิกะเฮิรตซ์ ซึ่งทางแก้ที่ดีที่สุดในตอนนี้คือ การงดใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ในขอบเขตการใช้งานเครือข่ายไร้สาย อย่างไรก็ตาม ยังโชคดีอยู่บ้างที่ระบบจะกลับมาทำงานได้อีกครั้ง หลังจากที่ปิดหรืองดใช้อุปกรณ์ดังกล่าวไปแล้ว ไม่เพียงแค่อุปกรณต่างระบบเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการใช้งานต่างมาตรฐานกันด้วย เช่น หากต้องการนำมาตรฐาน g ไปใช้กับ b ประสิทธิภาพก็จะเหลือเพียง b เท่านั้น ดังนั้น การใช้งานจึงควรจะใช้ร่วมกับมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพสูงสุด
การวางระบบเครือข่ายไร้สาย
ทีนี้มาดูกันครับว่า เราจะวางระบบไร้สายกันยังไง เพราะระบบไร้สาย จะแตกต่างจากระบบที่ใช้สายในบางส่วน อย่างที่เรารู้กันว่า เน็ตเวิร์กตามบ้านสามารถเชี่อมต่อกันระหว่างเครื่อง หรือจะใช้ฮับ (Hub) เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ ซึ่งในระบบไร้สายเองก็เช่นกัน ที่มีการเชื่อมต่ออยู่สองแบบ นั่นคือแบบที่เรียกว่า Ad Hoc Network และ อีกแบบเรียกว่า Infrastructure Network โดยทั้งสองแบบนี้ จะแตกต่างกันในเรื่องของการทำงานและโครงสร้างในการรับส่งข้อมูล สำหรับ Ad hoc network นั้น เปรียบเสมือนการเชื่อมต่อระหว่างการ์ด Wireless เข้าหากันโดยตรง เรียกว่าเป็นการเชื่อมต่อแบบ Direct ก็ได้ ส่วน Infrastructure จะเป็นการเชื่อมต่อผ่านทางแอ็กเซสพอยนต์หรือจุดให้บริการในการเชื่อมต่อ ที่เป็นเหมือนฮับหรือสวิตช์นั่นเอง ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์นี้ สามารถต่อเข้ากับระบบเน็ตเวิร์กที่มีอยู่เดิมได้ และสะดวกสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างเน็ตเวิร์กเดิมกับเครือข่ายไร้สายอันใหม่ สำหรับการใช้งานในวงเน็ตเวิร์กภายในบ้าน หากคุณมีระบบเน็ตเวิร์กอยู่แล้ว ก็สามารถติดตั้ง Access Point เข้ากับระบบเครือข่ายได้เลย โดยเชื่อมต่อ Access Point เหมือนกับอุปกรณ์เน็ตเวิร์กตัวหนึ่ง เพียงเท่านี้ ก็สามารถให้บริการอุปกรณ์ไวร์เลสส์อื่นๆ ได้แล้ว แต่หลังจากการติดตั้ง Access Point เราต้องระวังอยู่อย่างหนึ่ง เพราะโดยปกติแล้ว แอ็กเซสพอยนต์ที่มาจากโรงงานจะยังไม่มีการเซตค่าความปลอดภัยให้ ดังนั้นใครก็ตามที่อยู่ในรัศมีทำการของ Access Point ก็สามารถจะใช้บริการได้ทันที ทางที่ดีจึงควรจะเลือกเซตค่าการป้องกันให้กับแอ็กเซสพอยนต์เสียก่อน ซึ่งส่วนใหญ่ ก็จะมีซอฟต์แวร์แถมมาพร้อมกับแอ็กเซสพอยนต์ด้วย เพื่อการใช้งานที่ปลอดภัยมากขึ้น การติดตั้ง Access Point มีข้อควรระวังคือ เรื่องของการกระจายสัญญาณ เพราะการรับส่งข้อมูลผ่านทางคลื่นวิทยุนั้น ย่อมจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทางและสิ่งกีดขวาง ที่จะทำให้คลื่นวิทยุส่งไปไม่ถึง โดยเฉพาะการส่งข้อมูลระหว่างชั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ มักจะมีการฝังวัสดุที่เป็นเหล็กเอาไว้ภายใน ซึ่งสามารถดูดซับคลื่นวิทยุเอาไว้ ทำให้เคลื่นวิทยุไม่สามารถส่งผ่านตัวกลางเหล่านี้ได้อย่างสะดวก เรียกว่าหากผนังห้องมีการฝังเหล็กเส้นเอาไว้จำนวนมาก คลื่นวิทยุก็จะไม่สามารถส่งผ่านผนังไปได้ ปัญหาที่พบบ่อยๆ ก็คือ การติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์ที่อยู่คนละชั้นกับเครื่องที่ต้องการใช้งานแล้วเกิดปัญหา เพราะด้วยขนาดของเพดานที่กั้นกลางระหว่างชั้น จะทำให้สัญญาณส่งไปไม่ถึงนั่นเอง ในกรณีที่คุณติดตั้ง Wireless Network ภายในบ้าน มีความสะดวกอยู่อย่างหนึ่งคือ คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายไปมาระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแต่ติดตั้งแอ็กเซสพอยนต์และเสียบปลั๊กเพื่อใช้งาน ก็สามารถจะเชื่อมต่อเข้าหากันได้ทันที โดยอาจจะกำหนดหมายเลขไอพีให้กับคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในระบบ โดยไม่จำเป็นต้องต่อสายเน็ตเวิร์กเข้ากับแอ็กเซสพอยนต์แต่อย่างใด ซึ่งแอ็กเซสพอยนต์จะเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เอง ข้อควรระวังก็คือ เรื่องของสัญญาณที่ต้องครอบคลุมทุกจุดที่เราต้องใช้งาน
เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง
ในปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมีบทบาทอย่างมากที่จะช่วยให้คุณก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ได้ฉับไวมากกว่าเดิม โดยเฉพาะ ADSL ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตตามบ้าน โดยเราสามารถแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้กับคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องผ่านทางไวร์เลสส์ได้ สิ่งที่จำเป็นก็คือ การเลือกใช้โมเด็มแบบเราเตอร์ที่สามารถต่อกับระบบเครือข่ายได้เลย โดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อน แล้วนำแอ็กเซสพ้อยนต์ ไปต่อกับโมเด็มเราเตอร์ เพียงเท่านี้เราก็สามารถใช้บริการไวร์เลสส์อินเทอร์เน็ตภายในบ้านได้แล้ว โดยที่คุณไม่ต้องเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่หากเราไม่มีโมเด็มแบบเราเตอร์ งานนี้ก็ต้องอาศัยพึ่งพาคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นแม่ข่ายในการต่อใช้งาน และให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายกันละครับ ซึ่งวิธีการก็คือ ต่อแอ็กเซสพ้อยนต์เข้ากับคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมกับโมเด็มผ่านทางช่องทางอีเธอร์เน็ต ซึ่งก็สามารถให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นตลอดเวลายามที่ใช้อินเทอร์เน็ตไร้สาย
ราคาและค่าใช้จ่าย
ข้อดีของการใช้งานเครือข่ายแบบไร้สายก็คือ คุณไม่จำเป็นต้องเดินสายเคเบิลไปมาระหว่างห้อง เพียงแค่มีจุดบริการของแอ็กเซสพอยนต์เท่านั้นก็ใช้งานได้แล้ว ซึ่งราคาโดยประมาณของแอ็กเซสพอยนต์ จะอยู่ที่ราวๆ 4-5000 บาท ส่วนราคาของการ์ดเน็ตเวิร์กนั้น โดยรวมก็ไม่ได้สูงมากนัก สำหรับเครือข่ายแบบ b จะอยู่ที่ประมาณ 1000 ถึง 2000 บาท ส่วนแบบ g นั้นจะสูงขึ้นมาหน่อย คือราวๆ 1500 ถึง 3000 บาท และการ์ดเน็ตเวิร์กก็มีขายทั้งที่เป็นแบบ PCI และ PCMCIA การ์ด เราจึงเลือกซื้อมาติดตั้งกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเดสก์ทอปหรือว่าโน้ตบุ๊ก สำหรับโน้ตบุ๊กส่วนใหญ๋ในปัจจุบัน จะยังคงติดการ์ดไวร์เลสส์มาตรฐาน b มาให้เป็นส่วนมาก แต่สำหรับเครื่องรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งออกมา อาจจะติดแบบ b หรือ g มาให้ ซึ่งก็นับว่าสะดวกมาก เพราะคุณไม่จำเป็นต้องอัพเกรดการ์ดเน็ตเวิร์กเพิ่มเติมในภายหลัง

ข้อมูลจาก http://www.tlcthai.com/webboard

สัญลักษณ์แห่งความยุติธรรม


การ์ตูน


กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่ผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆตามพ.ร.บ.นี้เกี่ยวกับงานสร้างสรรค์ได้ทำขึ้น

การอุดช่องว่างกฎหมาย


หลักการอุดช่องว่าของกฎหมายมีหลักอยู่ในมาตรา4ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้