ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

วันครู2553


วันครู
ความหมาย
ครู หมายถึงผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ประวัติความเป็นมา

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า"คุรุสภา" ซึ่งมีสถานะเป็นนิติบุคคลและให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นในเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ จัดสวสัดิการให้แก่ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุกๆปี คุรุสภาจึงจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆเกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภา โดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุม"สามัคคยาจารย์"หอประชุมของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ในระยะหลังจึงมาใช้หอประชุมของคุรุสภา
ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวปราศัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า "ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า"วันครู"ควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอรปกับคว่ทคอดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆที่ล้วนเรียกร้องให้มี"วันครู"เพื่อให้เป็นการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่แประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มี "วันครู" เพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอในหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครู และเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอีนดีระหว่างครูกับประชาชน
ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคม ของทุกปีเป็น"วันครู"โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้ให้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือหนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ


กิจกรรมวันครู 2553

"น้อมจิตวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที"

วันครู 2553...อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็

วันนี้ 16 มกราคม 2553 วันครู เวลา 8.00 น. ณ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด วิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด วิทยาลัยการอาชีพโพนทอง วิทยาลัยการอาชีพพนมไพร วิทยาลัยการอาชีพเกษตรวิสัยและวิทยาลัยเทคนิคสุวรรณภูมิ โดยท่าน ผอ.อดุลชัย โคตะวีระ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคร้อยเอ็ด ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด ได้จัดงานวันครู 2553"น้อมจิตวันทา บูชาครู กตัญญูกตเวที" อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้บริหาร ครูและแขกผู้มีเกียรติพร้อมกันที่หอประชุมกลาง หลังจากนั้น นายธวัชชัย ฟักอังกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด ประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย พิธีกรนำสวดมนต์ นายสุทัศน์ สมุทรศรี ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด กล่าวนำสวดคำฉันท์ ระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์และเชิญชวนผู้ร่วมพิธีสงบนิ่ง 1 นาที นายวิทยา ชิณโย ผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาร้อยเอ็ด นำกล่าวปฏิญาณตน นายสมศักดิ์ ปาละจูม ผู้อำนวยการวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีร้อยเอ็ด อ่านสารนายกรัฐมนตรี จากนั้น นายอดุลชัย โคตะวีระ ประธานอาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี และมอบเกียรติบัตรให้ครูดีเด่น

หลังจากพิธีที่หอประชุมเสร็จเรียบร้อย จากนั้นเป็นการแข่งขันกีฬา เพื่อเชื่อมความสัมพันธไมตรีระหว่าง ผู้บริหาร ครู สังกัด อาชีวศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด

1


1

1

ที่่มา http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=5983559849864239423

http://school.obec.go.th/donyai/wankru.htm

งานปีใหม่ 2553



งานปีใหม่ 2553

และแล้วก็มาถึง เทศกาลหยุดยาวช่วงปีใหม่ ที่ทุกคนรอคอย เพราะนอกจากจะได้หยุดพักผ่อนแล้ว หลายคนยังมีโปรแกรมท่องเที่ยวกันด้วย(ใช่ไหมล่ะ) และที่เป็นไฮไลท์ของงานเลี้ยงปีใหม่ นั่นก็คือการนับถอยหลังเข้าสู่ศักราชใหม่ในปี 2553 ซึ่งวันนี้เรารวบรวมสถานที่เค้าท์ดาวน์เจ๋ง ๆ มาบอกกัน ใครที่ยังไม่รู้จะไปเค้าท์ดาวน์ที่ไหน ลองไปดูกันเลย...

กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมประดับตกแต่งไฟฟ้า


วันที่ 1 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านเพลินจิต - ราชประสงค์ - ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
กิจกรรมนับถอยหลัง ย่านราชประสงค์

ส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2552 - 1 มกราคม 2553 ย่านราชประสงค์ ในเขตกรุงเทพมหานคร การแสดงดนตรีและกิจกรรมบันเทิงต่าง ๆ /การแสดงแสง เสียง สื่อผสม / การนับถอยหลังส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
พลาดไม่ได้กับงานเคาท์ดาวน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงเทพฯ หรืออาจากล่าวได้ว่าเป็นงานเคาท์ดาวน์ที่ดีที่สุดงานหนึ่งในเอเชีย ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ในคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2552 ร่วมนับถอยหลังเข้าสู่ปี 2553 ร่วมกัน สนุกกับกิจกรรมหลากหลาย พร้อมรับชม มินิคอนเสิร์ตจากศิลปินชั้นนำ ภายในคอนเซ็ปต์ "Happy Town Party" ที่จะทำให้คุณประทับใจกับการอำลาส่งท้ายปีเก่าพร้อมต้อนรับปีใหม่อย่างไม่รู้ลืม
ไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคล 9 พระอารามหลวง

วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร




ที่มา http://travel.kapook.com/view8364.html

ภาพงานปีใหม่ 2553


กำแพงเพชร-จัดงานปีใหม่ให้ผู้สูงอายุปี 2553


เทศบาลตำบลลานกระบือจัดงานปีใหม่ให้กับผู้สูงอายุ มีการแข่งขันกีฬาเสริมสร้างสุขภาพ แข่งขันหัวเราะ ขี่ม้าก้านกล้วย ปิดตาป้อนนม ปิดตาแต่งหน้า และเตะปี๊ป ฯลฯ บรรยากาศสนุกสนานผู้สูงอายุหัวเราะจนน้ำหมากกระจาย

ที่สนามกีฬาหน้าอาคารสำนักงานเทศบาลตำบลลานกระบือ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร นายธำรง จันคง นายกเทศมนตรีตำบลลานกระบือ เป็นประธานเปิดงานต้อนรับปีใหม่ 2553 ของชมรมผู้สูงวัย และโครงการแข่งขันกีฬาเสริมสร้างสุขภาพจิตผู้สูงวัยเทศบาลตำบลลานกระบือซึ่งจัดขึ้นให้กับผู้สูงวัยเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ผู้สูงวัยที่ถือว่า เป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้มีพระคุณต่อท้องถิ่น ได้มีจิตใจที่ร่าเริงแจ่มใส มีภาวะทางอารมณ์ที่พร้อมใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีความสุข และมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงโดยการแข่งขันแบ่งผู้สูงวัยออกเป็น 4 สี ทำการแข่งขันกีฬาฮาเฮ ได้แก่ การแข่งขันหัวเราะ การแข่งขันขี่ม้าก้านกล้วย ปิดตาป้อนนม เตะปี๊ป และปิดตาแต่งหน้า เป็นต้นสำหรับบรรยากาศการแข่งขันเป็นไปอย่างสนุกสนาน ผู้สูงอายุบางคนที่เคี้ยวหมากถึงกับน้ำหมากกระจาย เริ่มจากการแข่งขันหัวเราะ ผู้ร่วมแข่งขันมีลีลาหัวเราะในแบบที่สะเด็ดสะเด่าแตกต่างกันออกไป บางคนไม่แน่ใจว่าหัวเราะหรือร้องไห้กันแน่ แต่ก็เล่นเอาคนเชียร์ฮาตรึมส่วนการแข่งขันขี่ม้าก้านกล้วย ผู้สูงอายุได้มีโอกาสย้อนอดีตไปในวัยเด็กของตนอีกครั้ง บางคนเจอม้าพยศสลัดจนตกหลังม้าเสียงดังพลักจุกแอ็กๆจนเกือบลุกไม่ไหว บางคนวิ่งไม่ทันก็ออกลีลาม้าย่องไปซะเลย นี่ก็ฮาไม่ไหวอีกเหมือนกันส่วนทางด้านปิดตาป้อนนม ให้ฝ่ายหญิงเป็นคนป้อน ฝ่ายชายเป็นคนดูด แต่กว่านมจะหมดขวดนี่ฝ่ายชายแทบเป็นลม ด้านเตะปี๊ป กีฬาซึ่งงานไหนงานนั้นต้องมีสำหรับผู้สูงวัย งานนี้ที่เตะไปได้ไกลที่สุด ไม่ใช่ฝ่ายชายแต่เป็นฝ่ายหญิงปิดท้ายด้วยปิดตาแต่งหน้า ซึ่งคนแต่ง หรือช่างแต่งหน้าจะต้องปิดตาแต่งให้กับเพื่อนร่วมทีม ซึ่งก็เป็นไปอย่างทุลักทุเล สุดท้ายก็จบแบบเลอะไปทั้งหน้าขอบตาสีเขียวปี๋ หรือจะเป็นแฟชั่นใหม่อินเทรนด์แบบเกาหลีก็ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆฮาจนหุบไม่ลง

ที่มาhttp://www.krobkruakao.com/kkn/?a=news&s=detail&news_id=13918

การแสดงของภาคอีสาน

การแสดงของภาคอีสาน
ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามารถแบ่งเรื่องการละเล่นพื้นเมืองได้ เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.
กลุ่มอีสานเหนือ ซึ่งสืบทอดวัฒนธรรมมาจากกลุ่มวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำโขง ที่เรียกว่า กลุ่มไทยลาว หรือกลุ่มหมอลำ หมอแคน ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่มีมากที่สุดในภาคอีสาน
2.
กลุ่มอีสานใต้ แบ่งออกได้อีก 2 กลุ่ม คือ
• กลุ่มที่สืบทอดวัฒนธรรมเขมร - ส่วย หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเจรียง - กันตรึม"
• กลุ่มวัฒนธรรมโคราช หรือที่เรียกว่า "กลุ่มเพลงโคราช"
ถ้าพิจารณาถึงประเภทของเพลงพื้นเมืองอีสาน โดยยึดหลักเวลา และโอกาสในการขับร้องเป็นหลัก สามารถแบ่งออกได้ 2 กลุ่ม คือ
1. เพลงพิธีกรรม
• กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ การลำพระเวสหรือการเทศน์มหาชาติ การแหล่ต่างๆ การลำผีฟ้ารักษาคนป่วย การสวดสรภัญญะ และการสู่ขวัญในโอกาสต่างๆ ฯลฯ
• กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ เรือมมม็วต เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต" จะช่วยให้คนที่กำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการทุเลาลงได้ ผู้เล่นไม่จำกัดจำนวน แต่จะต้องมีหัวหน้าหรือครูมม็วตอาวุโสทำหน้าที่เป็นผู้นำพิธีต่างๆ และเป็นผู้รำดาบไล่ฟันผีหรือเสนียดจัญไรทั้งปวง
2. เพลงร้องเพื่อความสนุกสนาน
• กลุ่มอีสานเหนือ ได้แก่ หมอลำ ซึ่งแบ่งได้ 5 ชนิด คือ หมอลำพื้น หมอลำกลอน หมอลำหมู่ หมอลำเพลิน หมอลำผีฟ้า
กลุ่มอีสานใต้ ได้แก่ กันตรึม เจรียง เพลงโคราช

ปัจจุบันมีการแสดงชุดใหม่ที่สถาบันต่างๆ ของภาคอีสานแต่ละกลุ่มได้ประดิษฐ์การฟ้อนรำขึ้นใหม่ ทำให้มีผู้แบ่งศิลปะการฟ้อนทั้งชุดเก่า และชุดใหม่ที่ปรากฏอยู่ของภาคอีสานออกเป็น 8 กลุ่มใหญ่ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะออกมาในรูปของการแสดงพื้นเมือง ได้แก่
1. การฟ้อนเลียนกิริยาอาการของสัตว์ เช่น กระโนบติงตอง แมงตับเต่า และกบกินเดือน ฯลฯ
2. การฟ้อนชุดโบราณคดี เช่น ระบำบ้านเชียง รำศรีโคตรบูรณ์ ระบำพนมรุ้ง และระบำจัมปาศรี
3. การฟ้อนประกอบทำนองลำนำ เช่น ฟ้อนคอนสวรรค์ รำตังหวาย เซิ้งสาละวัน และเซิ้งมหาชัย
4. การฟ้อนชุดชุมนุมเผ่าต่างๆภูไท 3 เผ่า คือ เผ่าไทภูพาน รวมเผ่าไทยบุรีรัมย์ และเผ่าไทยโคราช
5. การฟ้อนเนื่องมาจากวรรณกรรม เช่น มโนห์ราเล่นน้ำ
6. การฟ้อนเซ่นสรวงบูชา เช่น ฟ้อนภูไท แสกเต้นสาก โส้ทั่งบั้ง เซิ้งผีหมอ ฟ้อนผีฟ้า ฟ้อนไทดำ เรือมปัลโจล ฟ้อนแถบลาน รำบายศรี เรือมมม๊วต เซิ้งบั้งไฟ เซิ้งนางด้ง รำดึงครกดึงสาก และเซิ้งเชียงข้อง ฯลฯ
7. การฟ้อนศิลปาชีพ เช่น รำตำหูกผูกขิก ฟ้อนทอเสื่อบ้านแพง เรือมกลอเตียล (ระบำเสื่อ) เซิ้งสาวย้อตำสาด รำปั้นหม้อ รำเข็นฝาย เซิ้งสาวไหม รำแพรวา เซิ้งข้าวปุ้น รำบ้านประโคก เซิ้งปลาจ่อม เซิ้งแหย่ไข่มดแดง และเรือมศรีผไทสมันต์ ฯลฯ
8. การฟ้อนเพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เซิ้งแคน ฟ้อนชุดเล่นสาว เป่าแคน รำโปงลาง ฟ้อนกลองตุ้ม เซิ้งกะโป๋ เซิ้งทำนา เซิ้งสวิง เซิ้งกะหยัง รำโก๋ยมือ รำกลองยาวอีสาน ระบำโคราชประยุกต์ เรือมอันเดร เรือมซันตรูจน์ เรือมตลอก (ระบำกะลา) และเรือมจับกรับ ฯลฯ
ตัวอย่างการแสดงพื้นเมืองภาคอีสาน
* หมอลำอีสาน
หมอลำ แบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ หมอลำผีฟ้า หมอลำพื้น หมอลำกลอน และหมอลำหมู่

หมอลำผีฟ้า
หมอลำผีฟ้า หมายถึง หมอลำที่ติดต่อกับผีฟ้า ความมุ่งหมายของการร้องรำผีฟ้าก็เพื่อรักษาคนป่วย แล้วเชิญชวนคนป่วยให้ลุกขึ้นมาร่วมร้องรำทำเพลงกับคณะหมอลำ ไม่ได้เจตนาลำเพื่อสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้ฟัง แต่มุ่งสร้างความบันเทิงให้แก่คนป่วยเป็นสำคัญ
กลอนลำของหมอลำผีฟ้าและเพลงแคนเป็น " กลอนผญา " เหมือนกับกลอนเกี้ยวระหว่างหนุ่มสาว ร้องรำได้ก็ต่อเมื่อผีฟ้ามาเข้าสิง เฉพาะบทเชิญพญาแถนลงมาเยี่ยมคนป่วย ทำนองลำและทำนองแคน เรียกกันว่า " ลำทางยาว " คือ ลำแบบมีเสียงเอื้อนยาวสะอึกสะอื้นนั่นเอง ทำนองแคนในทางปฏิบัติจะเป็น " ลาย "
หมอลำพื้น
หมอลำพื้น หมายถึง " หมอลำนิทาน " คือ หมอที่เล่านิทานด้วยการลำ (ขับร้อง) คำที่
เก่าแก่พอ ๆ กันกับ " ลำพื้น " ก็คือ " เว้าพื้น " ซึ่งตรงกับว่า " เล่านิทาน " หมอลำพื้นจะเป็นหมอลำคนเดียว และมีหมอแคนเป่าคลอเสียงประสานไปด้วย
หมอลำกลอน
หมอลำกลอนคือ หมอลำที่ลำโดยใช้กลอน ถ้าจะให้ใกล้เคียงกับความหมายก็น่าจะเป็น
" หมอลำโต้กลอน " มากกว่า เพราะเป็นการลำแข่งขันโต้ตอบกันด้วยกลอนลำแบ่งได้เป็น ๓ ประเภท คือ หมอลำกั๊บแก๊บ หมอลำกลอน (ธรรมดา) และหมอลำชิงชู้
หมอลำกั๊บแก๊บ หรือหมอลำกรับ หมอลำ (คนเดียว) จะลำเป็นทำนองลำกลอน
หมอลำกลอน เป็นหมอลำคู่ ชาย - ชาย หรือ ชาย - หญิง ปัจจุบันจะมีเฉพาะคู่ชาย - หญิง เท่านั้น สมัยก่อนจะเน้นในทางแข่งวิชาความรู้กันเป็นหลัก ปัจจุบันนิยมการลำเกี้ยวกันเป็นการสนุกสนานเพลิดเพลิน ต้องใช้ศิลปะสูงยิ่งกว่าหมอลำประเภทใด ๆ ทั้งสิ้น ทั้งการฝึกฝนอบรม ความขยันหมั่นเพียร ตลอดจนคุณค่าของบทกลอน
ทำนองลำมีอยู่สองทำนองคือ ทำนองลำทางสั้น กับทำนองลำทางยาวปัจจุบันมีทำนองลำเต้ยเพิ่มเข้าเป็นตอน ทำนองลำทางสั้นเนื้อเต็มไม่มีเอื้อนมีจังหวะสม่ำเสมอ ทำนองรำทางยาวหรือบางทีเรียกว่า ลำล่อง หรือลำอ่านหนังสือ เป็นทำนองลำแบบเอื้อนเสียงยาวสะอึกสะอื้นแสดงอารมณ์โศกส่วนลำเต้ยเป็นการลำแบบเนื้อเต็ม มีจังหวะคึกคัก มีชีวิตชีวา แสดงอารมณ์รักและอ่อนหวาน มักจะแสดงตลอดทั้งคืน ประมาณสามทุ่มจนถึงสว่าง
ทำนองลำเต้ย หมายถึง เพลงสั้น ๆ ที่ใช้ลำเกี้ยวกันและมีจังหวะคึกคักมีชีวิตชีวา ซึ่งมีทั้งหมด ๔ ทำนองคือ เต้ยโขง เต้ยพม่า เต้ยธรรมดา และเต้นหัวโนนตาล
หมอลำชิงชู้ เป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่มีหมอลำฝ่ายชาย ๓ คน ฝ่ายหญิง ๑ คน เป็นการลำประชันแข่งขันระหว่างฝ่ายชายเพื่อเอาชนะใจฝ่ายหญิง สมมุตฝ่ายชายทั้งสามให้เป็นข้าราชการ พ่อค้า และชาวนา บางทีเรียกหมอลำนี้ว่า หมอลำสามเกลอ หรือหมอลำสามสิงห์ชิงนาง
หมอลำหมู่
หมอลำหมู่คือ หมอลำที่มีผู้แสดงหลายคน โดยแสดงเป็นเรื่องราว แสดงละคร หรือลิเก โดยนำเอานิทานพื้นบ้านมาทำบทใหม่ เช่น เรื่องนางแตงอ่อน ท้าวสีทน ขุนลู (ซูลู) -นางอั้ว ผาแดง - นางไอ่ ท้าวการะเกดและท้าวก่ำกาดำ เป็นต้น แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ หมอลำหมู่ กับหมอลำเพลิน ลำหมู่ธรรมดามักจะเน้นเรื่องความจริงจัง ความเป็นอนุรักษ์นิยมมีทำนองโศก แต่งตัวสุภาพเรียบร้อย ส่วนลำเพลินจะเน้นความสนุกสนานเพลิดเพลินและความเป็นอิสรนิยมเป็นสำคัญ แต่งตัวแบบสมัยนิยม คือ นุ่งกระโปรงสั้นอวดรูปทรง
เหยา
พิธีการอ้อนวอนผีด้วยการร่ายรำ เป็นการเสี่ยงทายให้ผีแจ้งความประสงค์เพื่อแก้ไขเคราะห์การเจ็บไข้ได้ป่วยของคนในครอบครัว เป็นประเพณีของชาวผู้ไทยที่มีความเชื่อและนับถือผีมาแต่โบราณ เรียกว่า ประเพณีการเหยาวิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดกาฬสินธุ์ กรมศิลปากรได้ประยุกต์เป็นท่ารำใหม่โดยอิงลักษณะการร้องและรำจากประเพณีเดิม โดยใช้เครื่องดนตรี แคน โปงลาง พิณ เบส โหวด กลอง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และเกราะ การร่ายรำมีทั้งจังหวะช้าและเร็ว การแต่งกายเสื้อคอกลมและแขนยาวนุ่งผ้ามัดหมี่ ห่มแพรวา
กลองเส็ง , กลองสองหน้า
กลองเส็ง เป็นการแสดงที่ใช้กลองเป็นเครื่องมือแสดงความสามารถในการตีกลองได้ดังและแม่นยำแคล่วคล่องว่องไว เป็นที่นิยมทั่วไป โดยเฉพาะในกลุ่มชาวโส้หรือกระโซ่ จังหวัดสกลนคร กลุ่มชาวผู้ไทย กลุ่มชาวย้อ กลุ่มชาวกะเลิง มีความนิยมกันมาก จึงได้ปรากฎการคิดสร้างสรรค์ท่าตีกลองแตกต่างกันออกไปแปลก ๆ การตีกลองเส็งจะต้องมีการแข่งขัน เพราะคำว่า “เส็ง” แปลว่า “การแข่งขัน” จึงนับเป็นการแสดงแบบกีฬาประเภทหนึ่งที่นิยมจัดขึ้นในเทศกาลงานบุญ แต่ก็ไม่มีบ่อยครั้งนัก
กล็องเส็งนั้นสำคัญอยู่ที่กลองกับคนตีกลอง สำหรับตัวกลองนั้นขุดด้วยไม้จนกลวง มีปากกว้าง ก้นแคบ ใช้หนังวัวหรือหนังควายหุ้มหน้ากลอง มีสายเร่งสำหรับเร่งให้หน้ากลองตึงมากหรือน้อยตามความต้องการ
เฉพาะในกลุ่มหมู่บ้านที่มีความสนิทชิดชอบกัน หรือเจ้าอาวาสของแต่ละวัดชอบพอเคารพนับถือกันดีอยู่ บางครั้งก็มีการแข่งขันกันในงานบั้งไฟ โดยปักสลากระบุว่าให้เอากลองเส็งไปพร้อมกับบั้งไฟด้วย
เวลาหามเอากลองเส็งไปยังที่แข่งขัน จะต้องตั้งพิธียกครูจุดธูปเทียนบูชาอธิษฐานขอให้ได้ชัยชนะ เวลาหามไปก็จะเคาะกลองไปเบา ๆ ให้เสียงกลองเป็นสัญญาณบอกว่ากลองของหมู่บ้านนั้น ๆ กำลังจะมาถึงแล้ว เมื่อลงมือแข่งขันกันก็เริ่มต้นมัดกลองทั้งคู่เข้ากันเป็นคู่ ๆ เริ่มจากเสียงเบาที่ฟังเพราะก่อน จากนั้นก็จะค่อย ๆ ดังขึ้น ๆ ตอนนี้เองถ้าฝ่ายใดเหนือกว่าก็จะส่งเสียงกลบอีกฝ่ายหนึ่งอย่างราบคาบ ถ้าค่อนข้างสูสีกันจะมีเสียงอีกฝ่ายหนึ่งดังสอดแทรกขึ้นบ้าง แต่ที่เสมอกันก็จะยิ่งดังมากขึ้น ผู้ตีกลองนั้นจะเคลื่อนไหวร่างกายจนสั่นเทิ้มไปทั้งตัว สะโพกก็จะส่ายไปมาอย่างรวดเร็วด้วย การแพ้ชนะไม่ได้อะไรกลับไป นอกจากผู้ชนะจะได้มีหน้ามีตาเท่านั้น ในปัจจุบันกำลังได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีก หลังจากซบเซามาเกือบ 40 ปี

รำลาวกระทบไม้
"รำกระทบไม้" เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวจังหวัดสุรินทร์ เดิมเรียกว่า "เต้นสาก" ประเทศไทยมีอาชีพทางกสิกรรมมาช้านาน การทำนาผลิตข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และทำรายได้เป็นสินค้าออกให้แก่ประเทศไทยอย่างมากมาย ชีวิตประจำวันของคนไทยส่วนใหญ่จึงคลุกคลีอยู่กับการทำนา เริ่มตั้งแต่หว่าน ไถ ดำ และเก็บเกี่ยว เป็นต้น ด้วยนิสัยรักสนุก




ที่มา http://www.art2bempire.com/board/index.php?topic=7574.0

วิถีชีวิตของชาวอีสาน

วิถีชีวิตของชาวอีสาน

คองสิบสี่...วิถีชีวิตของคนอีสาน

ข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของคนอีสาน

คองสิบสี่ คือ วิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของคนอีสาน โดยต้องอยู่ในหลักธรรมและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก รองลงมาคือคำสั่งสอนของบรรพบุรุษ

คองสิบสี่ หมายถึง กฎข้อบังคับในการครองตน แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายพระราชา ฝ่ายพระสงฆ์ ฝ่ายบุคคลทั่วไป โดยแต่ละฝ่ายก็จะมี ?คองสิบสี่? แตกต่างกันไป
ครอบสิบสี่ข้อ - กฎหมายสำหรับพระราชาผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินมีความสุขร่มเย็น (ถอดออกมาจากคำกลอนโดยไม่เปลี่ยนแปลงสำนวนเดิม)

คองสิบสี่ของพระราชา
ข้อหนึ่ง เป็นท้าวพระยาจัดตั้งแต่ง ซื่อซามนามกร เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พิจารณา สืบหา ผู้ซื่อผู้คด ผู้ฮ้ายผู้ดี ผู้ช่างแถลงแปงลิ้น มักสับส่อถ้อยคำอันหนักอันเบา อันน้อยอันใหญ่ ให้ไว้ในใจ นั้นก่อ สมที่จะฟัง จิ่งฟัง บ่สมที่จะฟังอย่าฟัง สมตั้ง ใจซื่อ ให้เพียงใดจิ่งตั้งใจเพียงนั้น ให้แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริตให้หมั่นเที่ยง ผู้ฮู้จัก ราชการบ้านเมือง แต่ก่อนมา บ่มข่มเห็งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้หายใจเข้าออก ได้ จิ่งตั้งให้เป็นเสนาอามาตย์
ข้อสอง เป็นท้าวพระยา ให้เนามุนตรี เป็นสามัคคีพร้อมเพียงกัน ให้หมั่นประชุมกัน อย่าให้ขาด อันใดอันหนึ่งจักให้อาณัติข้าเสิก (ข้าศึก) เกรงขาม และให้เขาอยู่ ในเงื้อมมือเจ้าตน ด้วยยุทธกรรมปัญญา ให้บ้านเมืองก้านกุ่งฮุ่งเฮือง เป็นที่ กว้างขวาง ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข อย่ากดขี่ข่มเห็ง เทอญ
ข้อสาม เป็นท้าวพระยา เถิงวันขึ้นสังขารปีใหม่ ถ่ายสังวาสมาสเกณฑ์ ให้เชิญพระแก้ว พระบาง พระพุทธฮูป สรงน้ำอบ น้ำหอม ไว้ในสระพัง สักการะ ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ฟังธรรมจำศีล คบงัน 7 วัน ทุกๆ วัดให้เป็นการซื่นซมยินดีแก่พระศาสนา ตบพระเจดีย์ทราย บูชาเทวดาทั้งหลายทางน้ำทางบก บ้านเมืองจิ่งวุฒิซุ่มเย็น น้ำฟ้าสายฝน เข้าไฮ่เข้านาบริบูรณ์

ข้อสี่ เป็นทางพระยา วันสังขารขึ้น ให้นิมนต์พระภิกขุ แห่น้ำฝ่ายใต้เมือฝ่ายเหนือ วันสังขารพักให้ฝ่ายเหนือมาวัดฝ่ายใต้ เพื่อบูชาเทวดา หลวงไปยามหัวเมือง ท้ายเมือง ของทุกๆ ฤดูปี บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ ให้ราษฎรอาบน้ำอบน้ำหอม หดสรงพระภิกษุสงฆ์บ้านเมือง จิ่งอยู่เย็นเป็นสุข ให้ราษฎรแต่งหม้ออุบัง เพื่อ กั้งบังโพยภัยอันตรายแก่ราษฎรทั่วไป เทอญ
ข้อห้า เป็นท้าวพระยา วันสังขารปีใหม่ ให้เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พญาเพีย ท้าวขุน หัวบ้านหัวเมือง ตำหรวดอาสา มหาดเล็กสีพายใต้แจก มีเทียนคู่ขึ้นทูนเกล้า ทูนกระหม่อมถวายราชบาส เพียกะซักมุงคุลถวายพานหมากหมั้นหมากยืน ปุโรหิตถวายพร ให้มีอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง แก่องค์พระเจ้ามหาชีวิต แล้วเอา น้ำมหาพุทธาภิเศก อันพระรัสสิไปสถาปนาไว้ ถ้ำนกแอ่นถ้ำนางอั่น อันชื่อว่า น้ำเที่ยงนั้น แห่มาสรงพระพุทธฮูปวัดหลวง ในเมืองทุกวัด ในถ้ำติ่งทวารทวารา ที่ปากน้ำอู ประตูเมืองฝ่ายเหนือ แล้วจิ่งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ นำบาลีพระพุทธ- ฮูป ในพระราชวังตามธรรมเนียม จิ่งเป็นอันโครพย่ำแยง แด่พระสงฆ์เจ้าถืก ต้อง ตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้หั้นแล
ข้อหก เป็นท้าวพระยาในวันสังขาร เป็นวันเสี้ยงฤดูเก่า ปีใหม่จักมาเถิง ให้เจ้านาย เสนา ข้าราชการ มุนตรีผู้มีนามยศ และเพียหัวหลิ่งหัวพัน หัวบ้านหัวเมือง สิบเอ็ดฮ้อยน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นข้าน้อยขันฑสีมาตำบล เข้ามาถือน้ำพิพัฒน์ สัตยานุศัตย์ต่อพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า ให้เป็นการซื่อสัตย์ ต่อ แผ่นดิน ป้องกันก่อให้ขบถคึดฮ้ายต่อแผ่นดิน

ข้อเจ็ด ท้าวพระยา คันเถิงฤดูเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงเทพยดาอาฮักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง ตาเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง ตามคองสิบสี่ แล้วให้เชิญเทพดาอาฮัก มเหศักดิ์ ให้เข้ามาซำฮะบ้านเมือง ป้องกันอันตราย ตามบูฮานราชประเพณีสั่งไว้ว่า เมืองชั่วบ่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ได้เอาไสยศาสตร์คือ ผีเมืองคุ้มครอง จิ่งมีฤทธิ์อันนี้สืบต่อมา เพื่อบ่ให้เกิดอันตรายโพยภัย ด้วยผีสางคางแดง
ข้อแปด เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนแปด ให้สูตรซำฮะบ้านเมือง สืบซะตาเมือง บูชา เทวดาอาฮักษ์ทั้งแปดทิศ บูชาพระรัสสีทั้งแปด สองพี่น้องพระยานาค 15 ตระกูล สูตรเถิงสามวันเจ็ดวัน แล้วให้ราษฎรฮอบเมืองยิงปืน หว่านหินแห่และ ทราย เพื่อให้หายพยาธิโรคา โพยภัยอันตราย ให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง ทุกประการ
ข้อเก้า เป็นท้าวพระยาคันเถิงเดือนเก้า จำเริญ (ดับ) ให้ป่าวเตินราษฎรบ้านเมืองท่าน ห่อเข้าประดับดิน ไปหาปู่ย่าตายาย ลูกเต้า หลานเหลน อันเถิงแก่อนิจกรรม ไปสู่ ปรโลก ทั่วทุกแห่งแล้ว ให้เจ้านายเสนาข้าราชการ ทั่วบ้านเมืองสิบฮ้อย น้อยใหญ่ ลงมือถือน้ำพระพิพัฒนิสัยานุศัตย์อีกเทื่อหนึ่ง แล้วซ่วงเฮือฉลอง อุสุภนาคราช ปากดงและปากคาน กับพระยานาคสิบห้าตระกูล อันฮักษา บ้านเมือง จิ่งจะอยู่เย็นเป็นสุข เข้าก้าไฮ่นาบริบูรณ์
ข้อสิบ เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบเพ็งให้ป่าวราษฎร ให้ทานสลากภัตร หยาดน้ำ อุทิศไปหาเทพดาอาฮักษ์เมือง อันฮักษาพระพุทธศาสนา กับทั้งพ่อแม่เผ่าพงษ์ วงศาแห่งตนเทอญ
ข้อสิบเอ็ด เป็นท้าวพระยา เถิงฤดูเดือนสิบเอ้ดเพ็ง ให้ฉลองพุทธาภิเศก พระธาตุจอมศรี ทุกๆ ปีอย่าขาด ด้วยเป็นศรีบ้านศรีเมือง แล้วให้ไปไหว้พระภิกษุสังฆะเจ้า มา ขอดสิม (ผูกพัทธสีมา) ในสนามแล้วให้สังฆเจ้าปวารณาในที่นั้น คันแล้วกิจ สงฆ์ ให้สูตรถอนสิมนั้นเสีย บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ เสนาอามาตย์จิ่งจักเป็น สามัคคี พร้อมเพียงกันจัดราชการบ้านเมือง จิ่งบ่ขัดข้องแก่กันและกัน คันเถิง แฮมค่ำหนึ่ง ให้ป่าวเตินราษฎรไหลเฮือไฟ บูชาพระยานาคสิบห้าตระกูล บ้านเมืองจิ่งจักอยู่สุขเกษมเติมครองแล
ข้อสิบสอง เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบสองขึ้นหนึ่งค่ำ ให้เตินหัวบ้านหัวเมือง สิบฮ้อย น้อยใหญ่ในขอบขันฑะสีมา เข้ามาโฮมพระนครหลวงพระบาง เป็นต้นว่า ข้าลาว ชาวดงดอย เพื่อแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต ไปลงพ่วง (ด่วง) ส่วงเฮือ และนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโสกราช คือ เดือนสิบสองขึ้นสามค่ำ ถือน้ำ ขึ้นสี่ค่ำ สิบสามค่ำ ซ่วงเฮือ ฉลองอุสุภนาคราช วัดหลวงให้เพียวัด มีเฮือ วันละลำ อัครมหาเสนาบดีตั้งแต่เมืองแสนเมืองจันทน์ ลงไปเถิงศรีสะคุต เมือง แกนาใต้นาเหนือ ให้ตั้งเป็นผามทุกตำแหน่ง เป็นเทศกาลบุญส่วงเฮือ ฉลอง พระยานาค 15 ตระกูล และพระเสื้อเมือง ทรงเมือง อาฮักษ์เมือง และมีเครื่อง กิยาบูชา เป็นต้นว่า โภชนะอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียน สวายไปหาเทพยดา ทั้ง ทางน้ำและทางบก จิ่งจักอวยพร แก่บ้านเมืองอยู่เย็นเป็สุข และเดือนสิบสอง เพ็ง เสนาอามาตย์ และเจ้าราชคณะสงฆ์ ราษฎร พร้อมกันแห่พระบาทสมเด็จ พระเจ้ามหาชีวิต และเจ้าย่ำขม่อมทั้งห้าพระองค์ไปนมัสการพระธาตุศรีธรรมา โศกราช พร้อมทั้งเครื่องบูชา มีต้นเทียนและดอกไม้ บั้งไฟดอก ไฟหาง กะทุน ว่าย กองปิด กองยาวฮูปหุ่นละคอน ลิงโขนและเครื่องเล่นมหรสพต่างๆ ไปเล่น อยู่ที่เดิ่นหน้าพระลาน พระธาตุถ้วนสามวัน สามคืนแล้ว จิ่งเสด็จคืนมาเทอญ เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน ข้าลาวชาวดอยทั้งหลาย ก็จักได้เห็นกัน และกัน และจักได้เว้าลมกัน เป็นมิตรสหายแก่กันและกัน จิ่งจักเป็นเกียรติยศ ฤชา ปรากฏแก่หัวบ้านเมืองน้อยใหญ่ อันอยู่ใกล้เคียงนั้นซะแล
ข้อสิบสาม เป็นท้าวพระยา ให้แต่งแปงทาวทุกอย่าง เป็นต้นว่า ถวายผ้ากะฐินและบวช พระหดเจ้า ตั้งมะไลไขมหาชาติ ฮักษาศีลห้าศีลแปดเป็นนิจกาล ทุกวันอุโบสถ และมีหัวใจอันเต็มไปด้วยพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เสนาอามาตย์ ราษฎร ข้าน้อยใหญ่ ในขอบเขต ขัณฑะสีมา อย่ามีใจอันกระด้างกระเดื่อง เคืองไปด้วยพาล เป็นต้นว่า ไปหลิ้น ป่าล่าเนื้อ จุ่งเลี้ยงนักปราชญ์ผู้อาจให้แก้วยังกิจการเอาไว้ และให้มีเสนา อามาตย์ผู้ฉลาดกล้าหาญกับทั้งสมณะชีพราหมณ์ ผู้ดีมีศีลบริสุทธิ์และความฮู้ สั่งสอนทายก อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเทอญ และให้ประกอบด้วย ทศพิธ- ราชธรรมสิบประการ บ้านเมืองจิ่งจะวุฒิจำเริญ แล
ข้อสิบสี่ เป็นท้าวพระยาให้มีสมบัติ อันประเสริฐ 14 ประการ คือ หูเมือง ได้แก่ราชฑูตผู้ฉลาดอาจนำเข้าออกต่างประเทศ ตาเมือง ได้แก่ทางหนังสือผู้ฉลาดอาจสอนอักขระบาลี แก่นเมือง ได้แก่พระสังฆะเจ้าฉลาดทรงธรรมทรงวินัย ประตูเมือง ได้แก่เครื่องศาสตราวุธทั้งหลายต่างๆสั่งสมไว้
ฮากเมือง
ได้แก่โหราศาสตร์อาจฮู้เหตุฮ้ายและดี
เหง้าเมือง
ได้แก่เสนาผู้เฒ่าแก่กล้าหาญมั่นคง
ขื่อเมือง
ได้แก่กวนบ้านและตาแสงราษฎรผู้ซื่อสัตย์
ฝาเมือง
ได้แก่ทแกล้วทหารผู้สามารถอาจทำยุทธกรรมกับข้าศึกชนะได้
แปเมือง
ได้แก่ท้าวพระยาองค์ประกอบด้วยศีลธรรมอันดีล้วน
เขตเมือง
ได้แก่ เสนาอามาตย์ ผู้ฉลาดฮู้เขตบ้านเมืองดินเมือง ว่าที่นั่นดีหรือบ่ มีคุณ หรือมีโทษ ฯลฯ
สติเมือง
ได้แก่เศรษฐีและพ่อค้าผู้มั่งมีเป็นดีฯลฯ
ใจเมือง
ได้แก่หมอยาวิเศษฮู้พยาธิใช้ยาถืกฯลฯ
ค่าเมือง
ได้แก่ภาคพื้นภูมิประเทศและพลเมืองฯลฯ
เมฆเมือง ได้แก่ เทพยดาอาฮักษ์ทั้งหลายเขตบ้านเมือง

ดังมีคำบรรยายไว้เป็นกลอนดังนี้
หูเมืองนั้น ได้แก่ ทูตาผู้คนดีฉลาด อาจนำความนอกพุ้นมาเข้าสู่เมือง ตาเมืองนั้น ได้แก่ นายหนังสือ เว้าคนดีผู้ฉลาด สามารถสอนสั่งให้บาลีก้อม คู่ซู่แนว สอนหมู่แถวพันธุ์เซื้อวงศ์ วานน้อยใหญ่ อันแก่นเมือง ได้แก่ สังฆะเจ้าผู้ทรงธรรมวินัยสูตรนี้ละเป็นแก่นแท้เมืองบ้านแห่งเฮา ประตูเมือง ได้แก่ ปืนหรือหน้าลาหลาว ง้าวหอก เครื่องอาวุธทุกชั้น ให้หั้นแหม่นประตู ที่พวกเสนา ข้ามนตรีฮักษาอยู่ ฮากเมือง นั้นได้แก่ โหราเจ้าหมอโหรผู้ฉลาด ฮู้เหตุดีและฮ้ายสิมาเข้าสู่เมือง เหง้าเมืองนั้น ได้แก่ เสนาผู้คนหาญเฒ่าแก่ เป็นผู้คงเที่ยงหมั้น บ่ผันลิ้นเปลี่ยนแปร อันขื่อเมือง ได้แก่ ตากวนบ้าน ตาแสงผู้สัตย์ซื่อ ราษฎรก็หากสุขอยู่ด้วยดอมเจ้าคู่ซู่กัน ฝาเมืองนั้น ได้แก่ พลาหาญกล้า โยธาทแกล้วเก่ง กับทหารผู้กล้าอาจฟันข้าหมู่เขา กับข้าเสิกสิเข้ามายาดชิงเมือง แปเมืองนั้น ได้แก่ คุณพระยาเจ้า ผู้ทรงธรรมทศราช เป็นผู้อาจเก่งกล้าผญาล้ำลื่นคน ผู้ตั้งในธรรม พร้อมและศีลธรรมสัตย์ซื่อ เป็นผู้ดียิ่งล้ำ พลข้าอยู่เกษม เขตเมืองนั้น ได้แก่ เสนา ข้ามนตรี ผู้อามาตย์ ผู้ฉลาดอาจรู้เขตบ้านและเขตเมือง บ่อนนั้นดีหรือฮ้ายมีคุณหรือบ่ นี้ละเป็นเขตบ้าน เมืองแท้อย่างดี สติเมือง ได้แก่ เศรษฐีเจ้า ผู้เป็นดีมีมั่ง และ ผู้ตั้งตลาดซื้อค้า หาซื้อจ่ายของ ผู้ที่ ทำถืกต้องครองราชธรรมเนียม บ่แม่นแนวโจโรหลอกหลอนลวงต้ม นี้ละเจ้าสติเมืองเกินมันแม่น อันใจเมือง ได้แก่ แพทย์ผู้ฮู้ยาแก้ใส่คน อันไทเฮาเรียกว่า หมอกล้า ผู้หายามาปัวปิ่น ฮู้จักพยาธิ ฮ้ายยาแก้ถืกกัน นี้ละเป็นใจแท้เมืองคนเจริญยิ่ง อีกค่าเมือง ได้แก่ ภูมิภาคพื้นดินฟ้าค่าแพง ภูมิประเทศ บ่อนแล้งหรือชุ่มดินงามอีกทั้งชาวพลเมืองก็ดั่งเดียวกันแท้ ผู้สิทำคุณให้เมืองตน เจริญเด่นและดินฟ้าหมู่นั้นสำคัญแท้กว่าเขา นี้ละสินำผลมาหลายอย่าง ของต่างๆ หมากไม้ ก็มี ด้วยแผ่นดิน เมฆเมืองนั้น ได้ เทพดาเจ้า มหาศักดิ์ตนอาจ อาฮักขาอยู่เฝ้าแถวนั้นเขตเมือง นี้กะ ดีเหลือล้นฮักษาสุขยิ่ง นี้กะเป็นมิ่งบ้านเมืองแท้อย่างดี มันหากเหมิดท่อนี้ครองราชราชาฯ
บทกลอนนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเฟื่องฟูรุ่งเรือง ทางวรรณคดีของชาวอีสานว่า มีอัจฉริยะ หรือเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนเพียงใด แม้แต่จารีตประเพณี อันเป็นกรอบสำหรับประพฤติปฏิบัติของ แต่ละบุคคล ตลอดจนกระทั่งกติกาในการปกครองบ้านเมือง สำหรับชนชั้นปกครอง ประดุจ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศอังกฤษ ก็ยังจารึกไว้เป็นบทกลอน เพื่อที่จะให้เป็นภาษา ที่สละสลวย แพร่หลายจนซึมซาบเข้าถึงจิตใจของสมาชิกในสังคมทุกคนได้ง่าย
คองสิบสี่ของพระสงฆ์
ข้อหนึ่ง ให้พระสังฆะเจ้าสูตรเฮียน ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและฮักษาศีล 227 อย่าให้ ขาด

ข้อสอง ให้บัวละบัตรกูฏิวิหาร ปัดตากวาดถู อย่าให้วัดเศร้าหมอง
ข้อสาม ให้ปฏิบัติจัดทำไปตามศรัทธา ชาวบ้านนิมนต์มีการทำบุญให้ทาน บวชหด เป็นต้น
ข้อสี่ เถิงเดือนแปด ให้เข้าวัสสา ตลอดสามเดือน จนถึงเดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่ง แต่เดือน สิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่งไปหาเดือนสิบสองเพ็ง ให้ฮับผ้ากฐินฮักษาคองผ้าเถิงสี่เดือน

ข้อห้า ออกวัสสาแล้ว ฤดูเหมันตะ (ฤดูหนาว) ภิกขุสังฆะเจ้าเข้าปริวาสกรรม ฯลฯ
ข้อหก ให้เที่ยวไปบิณฑบาตร ตามบ้านน้อยบ้านใหญ่ อย่าให้ขาด
ข้อเจ็ด ให้สูตร ภาวนา ทุกคืน วัน อย่าขาด ฯลฯ
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้ประชุมกันทำอุโบสถ สังฆกรรม อย่าขาด
ข้อเก้า เถิงเทศกาลปีใหม่ ทายกไหว้ขี่วอ แห่น้ำไปสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ฯลฯ
ข้อสิบ สังกาช ปีใหม่ พระเจ้ามหาชีวิต ไหว้พระ ให้สรงน้ำในวันพระราชวัง และบาสี พระสังฆะเจ้า
ข้อสิบเอ็ด ศรัทธาชาวบ้านนิมนต์สิ่งใด อันบ่ผิดคองวินัย ก็ให้ปฏิบัติตาม
ข้อสิบสอง เป็นสมณะให้พร้อมกันสร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์
ข้อสิบสาม ให้ฮับทานของทายก คือ สังฆะภัตร สลากภัตร เป็นต้น
ข้อสิบสี่ พระเจ้ามหาชีวิต เสนาข้าราชการ มีศรัทธานิมนต์ มาประชุมกันในสิมแห่งใด แห่งหนึ่งในวันเดือนสิบเอ็ดเพ็ง เป็นกาละอันใหญ่อย่าได้ขัดขืน

หมายเหตุ คองสิบสี่ประการสำหรับพระสงฆ์นี้ เป็นหลักใหญ่ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และได้สะท้อนให้เห็นท่วงทำนองการดำรงชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธ ศาสนา เป็นชีวิตที่เสียสละเพื่อประโยชน์คนส่วนมาก และเป็นคุณให้แก่ทางฝ่าย บ้านเมือง อย่างไม่มีข้อขัดแย้งที่จะเป็นศัตรูกันได้เลย ถ้าสองฝ่ายยึดมั่นในหลัก พระพุทธศาสนาอย่างเข้าร่วมกันจริงๆ

คองสิบสี่ของบุคลทั่วไป
ข้อหนึ่ง เมื่อเข้ากล้าหมากเป็นฮวง เป็นหมากแล้ว อย่าฟ้าวกินก่อน ให้เอาทำบุญให้ทาน แก่ผู้มีศีลกินก่อน แล้วจงกินภายลุน
ข้อสอง อย่าโลภตาส่าย อย่าจ่ายเงินแดง แปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบซ้ากล้าแข็ง ต่อกัน
ข้อสาม ให้พร้อมกันเฮ็ดฮั้วต้าย และกำแพงอ้อมวัดวา อาฮาม และบ้านเฮือน
ข้อสี่ เมื่อเจ้าขึ้นเฮือนนั้น ให้สว่ายกล้างตีน เสียก่อนจิ่งขึ้น
ข้อห้า เมื่อเถิงวันศีล 7-8-14-15 ค่ำ ให้สมมา (ขอขมา) ก้อนเส้า แม่คีไฟหัวคันได และ ประตูที่ตนอาศัยซู่ค่ำคืน ข้อหก เมื่อจักนอนให้เอาน้ำส่วนล้างตีนก่อน จิ่งนอน
ข้อเจ็ด เถิงวันศีล ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน สมมาผัวแห่งตน และเถิงวันอุโบสถให้แต่งดอกไม้ ธูปเทียนไปเคนพระสังฆเจ้า ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็งมานั้น ให้นิมนต์พระสังฆเจ้ามาสูตรมุงคุลเฮือน และทำบุญ ใส่บาตรถวายทาน
ข้อเก้า เมื่อพระภิกขุมาบิณฑบาตรนั้น อย่าให้เพิ่นคอยถ้า และเวลาใส่บาตรก็อย่าซุนบาตร และยามใส่บาตรนั้นอย่าใส่เกิบ (รองเท้า) กั้งฮ่มผ้าปกหัว อุ้มหลาน หรือถือเครื่อง ศาสตราอาวุธ ข้อสิบ เมื่อพระภิกขุเข้าปริวาสกรรม ซำฮะเบื้องต้นแล้ว ให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียนและ เครื่องอรรถบริขารไปถวายท่าน ข้อสิบเอ็ด เมื่อเห็นพระภิกขุสังฆะเจ้ากายมา ให้นั่งลงยอมือไหว้ก่อน และจั่งค่อยเจรจา
ข้อสิบสอง อย่าเหยียบย่ำเงาเจ้าพระภิกขุตนมีศีลบริสุทธิ์ ข้อสิบสาม อย่าเอาอาหารเงื่อนกินตนแล้วไปทานให้แก่พระสังฆะเจ้า และเอาไว้ให้ผัวกินจะ กายเป็นบาปได้ อันใดในชาติหน้าก็มีแต่แนวบ่ดี ข้อสิบสี่ อย่าเสพเมถุน กามคุณ ในวันศีล วันเข้าวัสสา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ถ้าดื้อ เฮ็ดได้ลูกได้หลานมา จะบอกยากสอนยาก ทั้ง

'ฮีตสิบสอง และ คองสิบสี่'สามารถสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของคนอีสานในโบราณได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ตอนนี้จะมีวัฒนธรรมจากตะวันตก เข้ามาครอบงำ แต่ในคนในภาคอีสานส่วนใหญ่ ยังยึดถือปฏิบัติกันอยู่ แม้จะไม่เคร่งครัดเหมือนเมื่อก่อน แต่ยังพอมีให้เห็น โดยเฉพาะ 'ฮีตสิบสอง'นั้นยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป

"สุขขีมั่นเสมอมันเครือเก่า บ่ได๋เห็นหน้าเจ้า เห็นเสาเฮือนกะยังดี"




ที่มา
http://mblog.manager.co.th/petchr17/th-1337/

ภาษาอีสาน

ภาษาท้องถิ่น

ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา ส่วนภาษาถิ่นเปรียบเสมือนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ใหญ่นั้น ทุกภาคของ ประเทศไทย เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล้วนมีภาษาประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นยังแยกย่อยลงไปตามท้องถิ่นจังหวัดต่างๆ ได้อีกมาก ภาษาถิ่นของภาคต่างๆ นั้นมีความงดงามไพเราะลึกซึ้งอยู่ในตัว อีกทั้งยังเป็นรากเหง้าของภาษาไทยที่ดี ภาษาในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันในการออกเสียง การใช้คำและอรรถรส

ภาษาท้องถิ่น หมายถึง เครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจระหว่างบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งหรือหลายคนได้ เป็นภาษาที่กลุ่มชนส่วนใหญ่ในภาคอีสานใช้ในการติดต่อสื่อสาร

สภาพทั่วไปของภาษาท้องถิ่นอีสาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ภาษาพูด

    ประชากรในภาคอีสานส่วนใหญ่พูดภาษาไทยสำเนียงอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ แต่ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในปัจจุบันสามารถพูดสำเนียงไทยภาคกลางได้เป็นอย่างดี ภาษาท้องถิ่นแบ่งตามภาษาพูดได้ 3 ประเภท ดังนี้

    1. กลุ่มไทย-ลาว ใช้กันทั่วๆ ไปในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี นครพนม หนองคาย เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และ บางส่วนของจังหวัดสกลนคร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และนครราชสีมา
    2. กลุ่มเขมร ส่วย (กูย, กวย) เยอ ใช้พูดในบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ น่าจะเป็นภาษาพื้นเมืองเดิมสมัยขอมเรืองอำนาจในภูมิภาคนี้
    3. กลุ่มไทยโคราชหรือไทยเบิ้ง ใช้พูดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

    นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นย่อยๆ อีก เช่น ภาษาผู้ไทย ภาษาย้อ ภาษาแสก ภาษาพวน ภาษากะเลิง กะโส้ (ในจังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร) ซึ่งน่าจะเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ถูกเกลี้ยกล่อมอพยพมาจากลาวตอนบน ในสมัยรัชกาลที่ 3

    การศึกษาภาษาท้องถิ่นอีสานในครั้งนี้ จะหมายถึงภาษาที่ใช้กันในภาคอีสานที่เป็นภาษาของกลุ่มชนส่วนใหญ่ ที่เรียกว่า ภาษาไทย - ลาว

    การใช้คำของภาษาท้องถิ่นอีสาน

    การใช้คำในภาษาท้องถิ่นอีสานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาอีสานแตกต่างไปจากภาษา ภาคกลาง เนื่องจากการนิยมใช้คำในการพูดจาสื่อสารในภาคอีสานเป็นไปตามความนิยมและ การรับรู้ของประชาชนในสังคมนั้นๆ ดังตัวอย่าง ดังนี้

    1. ความหมายเดียวกันภาอีสานและภาคกลางใช้คำต่างกัน
      ภาคอีสาน
      เว้า เช่น เว้าสาว, ปาก เช่น ปากบ่อเป็น
      ตั๊ว เช่น ขี้ตั๊ว – โกหก
      บางเทื่อ
      เซา
      เฮ็ดเวียก
      เงี่ยง เอาเงี่ยงไปถอกถิ้ม (เอากระโถนไปเท)
      แซบ แซบอีหลี
      เสี่ยว
      แป้น
      ม่วน ม่วนหลาย
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      พูด
      ปด โกหก
      บางครั้ง บางที
      หยุด
      ทำ ทำงาน
      กระโถน
      อร่อย อร่อยมาก
      เพื่อนสนิท
      ไม้กระดาน
      สนุก สนุกมาก
      ฯลฯ
    2. คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันภาษาอีสานนิยมใช้คำต่างกับภาคลาง
      ภาคอีสาน
      บางเทื่อ
      กกไม้
      เบิ่งตากัน
      เหิง
      เจ็บแข่ว
      ญ่าง
      แปง (แปลง)
      เดือนแจ้ง
      ตำ ตำหูก
      สิม สีมา
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      บางครั้ง บางที
      โคนต้นไม้
      สบตากัน
      นาน
      ปวดฟัน
      เดิน
      ซ่อม สร้าง
      เดือนหงาย
      ทอผ้า
      โบสถ์
      ฯลฯ
    3. ภาษาอีสานและภาษากลางใช้คำเดียวกันแต่ออกเสียงต่างกัน
      ภาคอีสาน
      ก้า
      กาง
      กะแย้ง
      เข่าโคด
      ฟ้าแมบ
      โลก
      หญ่า
      เฮ้า เฮา
      เฮือ
      ฮัก
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      กล้า
      กลาง
      แขยง
      ข้าวโพด
      ฟ้าแลบ
      โรค
      หญ้า
      เรา
      เรือ
      รัก
      ฯลฯ
  2. ภาษาเขียน

    การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของกลุ่มชนส่วนใหญ่ในภาคอีสาน (กลุ่มไทย-ลาว) ตัวอักษรที่ใช้ คือ อักษรธรรม (สกุลอักษรมอญ) ใช้จารึกเรื่องราวทางศาสนา และอักษรไทยน้อย (สกุลพ่อขุนรามคำแหง) ใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งต่างไปจากตัวอักษรไทยในภาคกลาง นอกจากนี้ชาวอีสานนิยมใช้ใบลานมากกว่ากระดาษ (ทั้งกระดาษสาและสมุดข่อย) สำหรับตัวอักษรขอมนั้น พบว่า มีการใช้ในสมัยพระนคร หรือขอมโบราณ เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1762) ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลงจึงไม่ปรากฏหลักฐานทางภาษาขอมใดๆ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งเกือบ 300 ปีต่อมา จึงปรากฏวัฒนธรรมไทย- ลาว ในดินแดนแถบนี้แต่ไม่พบว่า กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาวได้ใช้อักษรขอมในการเขียนหนังสือใดๆทั้งสิ้น ซึ่งต่างจากสุโขทัย ที่ใช้อักษรขอมเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีมาตลอดจนถึงสมัยกรุงเทพฯ

    หนังสือโบราณอีสาน มี 3 ประเภท คือ

    1. หนังสือผูก (หนังสือใบลาน) ได้แก่
      • หนังสือผูก คือ หนังสือใบลานที่จาร (เขียน) วรรณกรรมท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น วรรณกรรมนิทาน เช่น จำปาสี่ต้น นางผมหอม ท้าวก่ำกาดำ ฯลฯ เป็นต้น
      • หนังสือก้อม คือ หนังสือใบลานขนาดสั้นประมาณ 1 ฟุต ใช้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของบุคคล เช่น คาถาอาคม ตำราเวทมนต์ บทหมอลำหรือวรรณกรรมสั้นๆ
      • หนังสือเทศน์ คือ ใบลานที่บันทึกวรรณกรรมนิทานชาดก หรือคัมภีร์พุทธศาสนาอื่นๆ หนังสือเทศน์จะมีขนาดยาวกว่าหนังสือผูกและหนังสือก้อม
    2. หนังสือเจี้ย (สมุดข่อย) คือ หนังสือที่เขียนลงบนกระดาษข่อย (สมุดข่อย) ซึ่งพบจำนวนน้อยมาก การใช้หนังสือเจี้ยจะใช้ในสมัยที่ได้เรียนรู้จากตำราทางวิชาการจากภาคกลางแล้ว นอกจากการบันทึกด้วยตัวอักษร บางฉบับจะมีภาพประกอบด้วย
    3. หนังสือเจียง (อักษรจารในติวไม้ไผ่) คือ หนังสือที่บันทึกลงในติวไม้ไผ่ (ผิวหรือเปลือกนอก) ร้อยด้วยเชือกให้ติดกันเป็นแผง (เหมือนชาวจีนเขียนหนังสือตำราในติวไม้ไผ่สมัยโบราณ) เรื่องราวที่บันทึกนั้นเป็นคำเซิ้ง โดยเฉาะคำเซิ้งบั้งไฟ หรือเซิ้งในพิธีกรรมต่างๆ




ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les3_01.html

อาชีพของชาวอีสาน

อาชีพของชาวอีสาน
  1. การประกอบอาชีพ

    ปัจจัยความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่มนุษย์ต้องทำงานเพื่อทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพหลักของชาวอีสานที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ อาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือ ประมงน้ำจืด ด้านส่วนในด้านพาณิชยกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม ก็มีอยู่มากเช่นเดียวกันแต่ไม่ถึงกับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ ยกเว้นอาชีพหัตถกรรมที่ในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นมาก

    อาชีพเกษตรกรรม

    1. การทำนา อาชีพนี้ถือว่าเป็นชีวิตจิตใจของชาวอีสาน โดยจะปลูกชาวอีสานจะปลูกข้าวเหนียวไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวเจ้าเพื่อจำหน่ายโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี




    2. การทำไร่ เนื่องจากพื้นที่ของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง และมีเชิงเขาอยู่ทั่วไปจึงเหมาะที่จะปลูกพืชไร่ ได้แก่ ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย มะเขือเทศและยางพารา เป็นต้น




    3. การทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่า มะม่วง ขนุน แตงโม มะขาม ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ แก้วมังกร ฯลฯ ซึ่งได้ผลผลิตไม่มากนัก




    4. การปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญในภาคอีสาน ได้แก่ โค กระบือ สุกร และไก่ ซึ่งมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโคและกระบือพันธุ์พื้นเมือง ในปัจจุบันเกษตรกรจะเลี้ยง โค – กระบือพันธุ์ผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
    5. การประมง นอกจากการจับสัตว์น้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอีสานยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน เป็นต้น




    6. การอุตสาหกรรม ชาวอีสานจะมีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกรผลผลิตทางเกษตร นอกจากจะนำมาจำหน่ายในลักษณะผลิตผลปฐมภูมิแล้ว ส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิต ในอุตสาหกรรมการเกษตรได้อีกด้วย เช่น สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น

      นอกจากนี้ยังมีอุตสากรรมหนัก ได้แก่ โรงงานทอกระสอบในจังหวัดขอนแก่น อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ในจังหวัดนครราชสีมา โรงงานน้ำตาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

    7. การท่องเที่ยวและการบริการ ภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาคอีสานยังมีประเพณีฮีต 12 ที่เป็นเอกลักษณ์ ทัศนียภาพที่สวยงาม และปัจจุบันยังมีสะพานมิตรภาพ ที่ติดต่อกับประเทศลาวสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนาม ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาในภาคอีสาน จึงธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมพัก ที่พัก ร้านอาหาร รถรับจ้าง สถานบันเทิงต่างๆ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่



    8. ศิลปหัตถกรรม ศิลปหัตถกรรมของภาคอีสานเป็นที่ยอมรับของคนไทยทุกภาคในประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดังได้กล่าวมาแล้วยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่

      เครื่องปั้นดินเผา มีกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะสำหรับการใช้สอย เช่น หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว โอ่งน้ำ และกระถางปลูกต้นไม้ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ เป็นต้น

      เครื่องจักสาน เครื่องจักสานในภาคอีสานมีการผลิตในทุกจังหวัด เพราะทุก ครัวเรือนต้องใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าว ก่องข้าว กะบุง ตะกร้า เป็นต้น


      ชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพของท้องถิ่น ได้มีการเรียนรู้โดยการบอกกล่าวสอนและประพฤติปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาซึ่งได้มีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันชาวอีสานได้นำความรู้จากอดีตบางอย่างอาจจะนำมาปรับใช้กับสภาพชีวิตในปัจจุบันด้วย เช่น การนำยาสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรค การรู้จักแสวงหาอาหารจากธรรมชาติแบบพึ่งตนเอง การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ฯลฯ





ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les6_01.html

วัฒนธรรมทางด้านอาหารในภาคอีสาน

วัฒนธรรมท้างอาหารในภาคอีสาน

ภาคอีสานมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ อาหารการกินที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับผลผลิตของแต่ละอาชีพอาหารที่จัดว่ามีความสำคัญควบคู่กับความเป็นอยู่ของชาวอีสานตลอดมาคือ ข้าวและปลา จนมีคำพูดติดปากว่า “มาเยอมากินข้าวกินปลา” แสดงให้เห็นว่า อาหารการกินหลักของชาวอีสานคือข้าวกับปลา ข้าวที่คนไทยทั่วไปและคนในภาคอีสานบริโภคมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ข้าวที่ใช้เวลาปลูกนานกว่าจะได้เก็บเกี่ยวเรียกว่า “ข้าวหนัก” ข้าที่ให้ผลเร็วใช้เวลาปลูก ไม่กินเวลานานนักก็สามารถเก็บเกี่ยวได้เรียกว่า “ข้าวเบา” มีคำกลอนวรรณกรรมอีสานพูดถึงข้าวที่มีความจำเป็นต่อชีวิตว่า

" ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนดีพอลี้อยู่
ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง ซินอนลี้อยู่บ่เป็น "

หมายความว่า แม้จะทุกข์จนขนาดใด เสื้อผ้าไม่มีจะสวมใส่ ถ้าฝาบ้านดีก็อหลบซ่อนอยู่ได้ แต่ถ้าทุกข์ จนไม่มีข้าวจะกิน จะนอนหลบอยู่ไม่ได้ คนอีสานจึงขยันขันแข็งในการทำมาหากินเพราะกลัวความจน ไม่ให้ขาดแคลน ซึ่งต่างจากวรรณกรรมของภาคเหนือที่กล่าวว่า

" ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง
ตุ๊กบ่ได้เอ้ได้ย่อง ชาวบ้านเปิ้นแคน "

หมายความว่า ทุกข์ไม่ได้กิน ไม่มีใครเอาไฟส่องท้องดู ทุกข์ไม่ได้แต่งตัวโก้ได้เก๋ชาวบ้านเขาดูแคลน

ประเภทของอาหารอีสาน

อาหารอีสานนอกจากมีข้าวและปลาแล้ว ยังมีอาหารประเภทซี้น (เนื้อ) สัตว์ ผัก ผลไม้ต่างๆ อีกมากมาย ธรรมเนียมการประกอบอาหารของคนอีสานนั้นมีความพิถีพิถันประณีต บรรจงมาก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. อาหารคาว คือ ของกินพร้อมกับข้าว เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางอาหารกับข้าว ของชาวอีสานได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ กับข้าวของคนอีสานมีหลายประเภท ได้แก่
    • ลาบ ก้อย ส่า แซ หรือ แซ่ ซุบ
    • แกง อ่อม อ๋อ คั่ว อู๋
    • หมก นึ่ง หลาม
    • ปิ้ง ย่าง
    • ดอง หมัก ตากแห้ง กวน
    • ชูรสอาหาร ได้แก่ ป่นปลา (น้ำพริกปลา) แจ่ว (น้ำพริกต่างๆ) ส้มตำประเภทต่างๆ



  2. อาหารหวาน ขนมและอาหารว่าง มีมากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีเครื่อง ประกอบ 5 อย่าง แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว มะพร้าว น้ำอ้อย – น้ำตาล ไข่ ถั่ว งา ซึ่งพอจำแนกได้ ดังนี้คือ
    1. ประเภทต้ม ได้แก่ ต้มถั่วดำ กล้วยบวชชี บวชฟักทอง ข้าวเหนียวแดง ข้าวปาด ข้าวหลิ่ม (ข้าวตอกผสมน้ำอ้อยที่เคียวเป็นยางมะตูม)
    2. ประเภทนึ่ง ได้แก่ ขนมหมก (ขนมเทียน) ข้าวต้มมัด
    3. ประเภทปิ้ง คั่ว ได้แก่ กล้วยปิ้ง มันปิ้ง ข้าวเม่า ข้าวตอกแตก (ข้าวตอก
    4. ประเภทอาหารว่าง ได้แก่ ข้าวโป่ง ข้าวหลาม ข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวละส่อง (ลอดช่อง)



  3. ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นอาหารที่ได้จากพืชและผลผลิตจากพืช คนอีสานนิยมรับประทานผักกันมากถือเป็นส่วนประกอบของการกินกับอาหารคาวแทบทุกชนิด ส่วนประกอบที่กินได้ มีดังนี้
    1. ราก เช่น รากบัว ฯลฯ
    2. หัว เช่น เผือก มันชนิดต่างๆ กลอย หอม กระเทียม ขิงข่า ฯลฯ
    3. ใบ เช่น ผักติ้ว ผักเม็ก ผักกะโดน ฯลฯ
    4. ดอก เช่น ดอกแค กะหล่ำดอก ฯลฯ
    5. ผล เช่น ลิ้นฟ้า เพกา แตงอ่อน มะเขือ แตงโม หมากหูลิง หมากหวดค่า ฯลฯ
    6. อื่นๆ เช่น เห็ดต่างๆ เทา (สาหร่ายน้ำจืด) ไข่ผำ (ไข่น้ำ)




    ภาพผักพื้นเมืองอีสาน




    ภาพผลไม้พื้นเมืองอีสาน

  4. เครื่องดื่ม เครื่องดื่มของคนอีสานมีหลายชนิด ส่วนมากจะทำจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำอ้อยสด เป็นต้น

    วิธีการกินของคนอีสาน ธรรมเนียมของคนอีสานแต่โบราณ การบริโภคอาหารนั่งราบกับพื้นบนสาด (เสื่อ) กับข้าวใส่ขันโตกหรือพาข้าว (ถาด) ข้าวเหนียวนึ่งสุกและขันน้ำวางข้างๆ วิธีกินอาหารใช้มือเป็นพื้น อาหารที่มีน้ำพวกต้มหรือแกง ในอดีตจะใช้บ่วงที่ได้จากเปลือกหอย การใช้ช้อนหรือซ่อมมีภายหลังเมื่ออารยธรรมของยุโรปเผยแพร่เข้ามา





ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les6_01.html

การแต่งกายของชาวอีสาน

การแต่งกายของชาวอีสาน

ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าสำหรับใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม เป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ผู้หญิงในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ

  1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันจะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอดด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
  2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน

ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือ การลงข่วงโดยบรรดาสาว ๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสี

ประเภทของการทอผ้า

ภาคอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่ม วัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม 2 ประเภท ดังนี้

  1. กลุ่มอีสานเหนือและอีสานตอนกลาง เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญยิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์ มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกันในแถบอีสานเหนือและอีสานตอนกลาง คือ ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา
  2. กลุ่มอีสานใต้ คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ และนครราชสีมา เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว



    ลักษณะผ้าพื้นเมืองอีสาน

    ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสาน ทั้งสองกลุ่มนิยมใช้ลายขนานกับตัว ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัว ในขณะที่ชาวไทย – ลาว และชาวล้านนานิยมนุ่งผ้าซิ่นกรอมเท้าเช่นเดียวกัน จะนิยมการต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมทอด้วยผ้าไหมชิ้นเดียว ทอเก็บขิดเป็นลายบัวคว่ำและบัวหงายมีสีแดงเป็นพื้น ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้ มักจะทอริมผ้าเป็นริ้ว ๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก

    ลักษณะการแต่งกายของชาวอีสาน

    ชาวอีสานมีการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของตนคือหญิงมักจะนุ่งผ้าซิ่นทอ ด้วยฝ้ายมีเชิงคลุมเลยเข่าไปเล็กน้อย สวมเสื้อแขนสั้น ผู้สูงอายุมักตัดผมสั้นไว้จอน ส่วนผู้ชายไม่ค่อยมีรูปแบบที่แน่นอนนัก แต่มักนุ่งกางเกงมีขาครึ่งน่องหรือนุ่งโสร่งผ้าไหม อย่างไรก็ตามเครื่องแต่งกายดังกล่าวจะพบน้อยลง ในปัจจุบันประชากร วัยหนุ่มสาวจะแต่งกายตามสมัยนิยมอย่างที่พบเห็นในที่อื่นๆ ของประเทศ แต่ก็สามารถหาชมการแต่งกายของชาวอีสานแบบดั้งเดิมได้ตามหมู่บ้านในชนบท ซึ่งประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนเฒ่าคนแก่ยังคงแต่งกายแบบดั้งเดิม







ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les6_01.html

ชนเผ่าพื้นเมืองในภาคอีสาน



ชนเผ่าพื้นเมืองในภาคอีสาน

ชนเผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)

ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน


ชนเผ่าผู้ไทย
อาศัยในเขตตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมาชนเผ่าผู้ไทย ชาวผู้ไทยเป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเขต อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทย ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมื่อเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมือวังวเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด

ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม

เผ่าไทยกะเลิง
อาศัยในเขต ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อ โส้ แสก ผู้ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ 3 และมีการอพยพครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. 2416 ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร

จังหวัดนครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่ บ้านกุรุคุ หนองหญ้าไซ นาปง ไทสามัคคี ตำบลกุรุคุ บ้านนาโพธิ์ บ้านผึ้ง วังกะแส นามน เทพนม ดงสว่าง บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า บ้านดงขวาง บ้านคำเตย หัวโพน ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย

เผ่าไทแสก
อาศัยในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา แสก เป็นชนกลุ่มน้อยภาคอีสานเผ่าหนึ่งในจำนวนหลายๆ เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้ อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและจีน ชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสมจึงได้รวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ใหม่ โดยอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี ท้าว กายซุ และท้าวกายชา เป็นหัวหน้าในการอพยพ

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทย ชาวแสก ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานมาอยู่ที่ป่าหายโศก การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกข่มแหงแต่อยู่ใด เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณป่าหายโศก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆ จึงได้อพยพกันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา

จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมืองได้พิจารณาเห็นว่าชาวแสกมีความสามารถและความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้จึงได้ยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมืองโดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากป่าหายโศก เป็นเมืองอาจสามารถ หรือบ้านอาจสามารถ จนทุกวันนี้

เมื่อได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแล้ว ชาวแสกต่างพากันโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินในต่างถิ่นอีกก็มี เช่น บ้านไผ่ล้อม (ตำบลอาจสามารถ) บ้านดงสมอ บ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และที่บ้านโพธิ์คำ (ประเทศลาว) ชาวแสกเหล่านี้ ล้วนเป็นเชื้อสายและเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถ

จากคำบอกกล่าวของชาวแสกทราบว่า ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนาที่ประเทศจีน และที่สมุทรปราการ ประเทศไทยอีกด้วย

เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่
อาศัยอยู่ในเขต อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า นักมนุษยวิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์ ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า แต่ภาษานั้นถือว่า อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้บทความเรื่องภาษาตระกูลไทย

พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ. 2387 โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวบัว แห่งเมืองเชียงฮ่ม เป็นพระทัยประเทศ เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช ตำบลพระทาย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้

นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมอีกหลายหมู่บ้าน เช่น ตำบลโคกสูง และบ้านวังตามัว ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม

ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง หรือภาษากะโซ่เรียกว่า สะลา เป็นพิธีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย กับพิธี ซางกระมูด ในงานศพ

ไทยข่า
อาศัยในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา ไทยข่าเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังพอมีหลงเหลือบ้างในพื้นที่จังหวัดนครพนมแต่ไม่ปรากฏให้เป็นชุมชนชัดเจนจะมีเพียงครอบครัวที่แทรกอยู่ในชุมชนอยู่ในพื้นที่อำเภอนาแกตามหมู่บ้านแถบเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอดงหลวง จะมีชาวข่าอาศัยอยู่มาก ในอดีตจังหวัดมุกดาหารเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดนครพนมรวมถึงอำเภอดงหลวงด้วย ปัจจุบันอำเภอมุกดาหารได้เลื่อนเป็นจังหวัด และอำเภอดงหลงก็ไปขึ้นเป็นสังกัดมุกดาหารด้วย ชุมชนไทยข่าในจังหวัดนครพนมจึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด จึงมีเพียงกระจัดกระจายเป็นบางครอบครัวในชุมชนต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว

ไทยข่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่แขวงสุวรรณเขตสาละวัน และอัตปือ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา

นักมนุษยวิทยาถือว่า ชาวไทยข่าเป็นเผ่าดั้งเดิมในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง ภาษาของชาวไทยข่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเชียติก ในสมัยมอญเขมร ชาวไทยข่ามิได้เรียกตัวเองว่าชาวไทยข่า แต่จะเรียกตัวเองว่าพวกบรู

คำว่า ข่า อาจมาจาก ข้าทาส ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียง ข่าทาส เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดพวกบรูมาเป็นข้าทาสรับใช้กันมาก จึงเรียกกันมาว่าไทยข่า

ไทยอีสาน

ไทยอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป







ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/07.html

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้