ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

วิถีชีวิตของชาวอีสาน


วิถีชีวิตของชาวอีสาน

คองสิบสี่...วิถีชีวิตของคนอีสาน

ข้อปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของคนอีสาน

คองสิบสี่ คือ วิถีปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของคนอีสาน โดยต้องอยู่ในหลักธรรมและคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลัก รองลงมาคือคำสั่งสอนของบรรพบุรุษ

คองสิบสี่ หมายถึง กฎข้อบังคับในการครองตน แบ่งออกเป็น 3 ฝ่าย ฝ่ายพระราชา ฝ่ายพระสงฆ์ ฝ่ายบุคคลทั่วไป โดยแต่ละฝ่ายก็จะมี ?คองสิบสี่? แตกต่างกันไป
ครอบสิบสี่ข้อ - กฎหมายสำหรับพระราชาผู้ปกครองบ้านเมืองพึงปฏิบัติ เพื่อไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินมีความสุขร่มเย็น (ถอดออกมาจากคำกลอนโดยไม่เปลี่ยนแปลงสำนวนเดิม)

คองสิบสี่ของพระราชา
ข้อหนึ่ง เป็นท้าวพระยาจัดตั้งแต่ง ซื่อซามนามกร เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พิจารณา สืบหา ผู้ซื่อผู้คด ผู้ฮ้ายผู้ดี ผู้ช่างแถลงแปงลิ้น มักสับส่อถ้อยคำอันหนักอันเบา อันน้อยอันใหญ่ ให้ไว้ในใจ นั้นก่อ สมที่จะฟัง จิ่งฟัง บ่สมที่จะฟังอย่าฟัง สมตั้ง ใจซื่อ ให้เพียงใดจิ่งตั้งใจเพียงนั้น ให้แต่งตั้งผู้ซื่อสัตย์สุจริตให้หมั่นเที่ยง ผู้ฮู้จัก ราชการบ้านเมือง แต่ก่อนมา บ่มข่มเห็งไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้หายใจเข้าออก ได้ จิ่งตั้งให้เป็นเสนาอามาตย์
ข้อสอง เป็นท้าวพระยา ให้เนามุนตรี เป็นสามัคคีพร้อมเพียงกัน ให้หมั่นประชุมกัน อย่าให้ขาด อันใดอันหนึ่งจักให้อาณัติข้าเสิก (ข้าศึก) เกรงขาม และให้เขาอยู่ ในเงื้อมมือเจ้าตน ด้วยยุทธกรรมปัญญา ให้บ้านเมืองก้านกุ่งฮุ่งเฮือง เป็นที่ กว้างขวาง ให้ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอยู่เย็นเป็นสุข อย่ากดขี่ข่มเห็ง เทอญ
ข้อสาม เป็นท้าวพระยา เถิงวันขึ้นสังขารปีใหม่ ถ่ายสังวาสมาสเกณฑ์ ให้เชิญพระแก้ว พระบาง พระพุทธฮูป สรงน้ำอบ น้ำหอม ไว้ในสระพัง สักการะ ด้วยดอกไม้ ธูป เทียน ฟังธรรมจำศีล คบงัน 7 วัน ทุกๆ วัดให้เป็นการซื่นซมยินดีแก่พระศาสนา ตบพระเจดีย์ทราย บูชาเทวดาทั้งหลายทางน้ำทางบก บ้านเมืองจิ่งวุฒิซุ่มเย็น น้ำฟ้าสายฝน เข้าไฮ่เข้านาบริบูรณ์

ข้อสี่ เป็นทางพระยา วันสังขารขึ้น ให้นิมนต์พระภิกขุ แห่น้ำฝ่ายใต้เมือฝ่ายเหนือ วันสังขารพักให้ฝ่ายเหนือมาวัดฝ่ายใต้ เพื่อบูชาเทวดา หลวงไปยามหัวเมือง ท้ายเมือง ของทุกๆ ฤดูปี บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ ให้ราษฎรอาบน้ำอบน้ำหอม หดสรงพระภิกษุสงฆ์บ้านเมือง จิ่งอยู่เย็นเป็นสุข ให้ราษฎรแต่งหม้ออุบัง เพื่อ กั้งบังโพยภัยอันตรายแก่ราษฎรทั่วไป เทอญ
ข้อห้า เป็นท้าวพระยา วันสังขารปีใหม่ ให้เสนาอามาตย์ ราชมุนตรี พญาเพีย ท้าวขุน หัวบ้านหัวเมือง ตำหรวดอาสา มหาดเล็กสีพายใต้แจก มีเทียนคู่ขึ้นทูนเกล้า ทูนกระหม่อมถวายราชบาส เพียกะซักมุงคุลถวายพานหมากหมั้นหมากยืน ปุโรหิตถวายพร ให้มีอายุ วัณโณ สุขัง พะลัง แก่องค์พระเจ้ามหาชีวิต แล้วเอา น้ำมหาพุทธาภิเศก อันพระรัสสิไปสถาปนาไว้ ถ้ำนกแอ่นถ้ำนางอั่น อันชื่อว่า น้ำเที่ยงนั้น แห่มาสรงพระพุทธฮูปวัดหลวง ในเมืองทุกวัด ในถ้ำติ่งทวารทวารา ที่ปากน้ำอู ประตูเมืองฝ่ายเหนือ แล้วจิ่งนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ นำบาลีพระพุทธ- ฮูป ในพระราชวังตามธรรมเนียม จิ่งเป็นอันโครพย่ำแยง แด่พระสงฆ์เจ้าถืก ต้อง ตามพระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้หั้นแล
ข้อหก เป็นท้าวพระยาในวันสังขาร เป็นวันเสี้ยงฤดูเก่า ปีใหม่จักมาเถิง ให้เจ้านาย เสนา ข้าราชการ มุนตรีผู้มีนามยศ และเพียหัวหลิ่งหัวพัน หัวบ้านหัวเมือง สิบเอ็ดฮ้อยน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นข้าน้อยขันฑสีมาตำบล เข้ามาถือน้ำพิพัฒน์ สัตยานุศัตย์ต่อพระพักตร์ พระพุทธเจ้า พระสังฆเจ้า ให้เป็นการซื่อสัตย์ ต่อ แผ่นดิน ป้องกันก่อให้ขบถคึดฮ้ายต่อแผ่นดิน

ข้อเจ็ด ท้าวพระยา คันเถิงฤดูเดือนเจ็ด ให้เลี้ยงเทพยดาอาฮักษ์ มเหศักดิ์ หลักเมือง ตาเมือง เสื้อเมือง ทรงเมือง ตามคองสิบสี่ แล้วให้เชิญเทพดาอาฮัก มเหศักดิ์ ให้เข้ามาซำฮะบ้านเมือง ป้องกันอันตราย ตามบูฮานราชประเพณีสั่งไว้ว่า เมืองชั่วบ่มีธรรมเป็นเครื่องคุ้มครอง ได้เอาไสยศาสตร์คือ ผีเมืองคุ้มครอง จิ่งมีฤทธิ์อันนี้สืบต่อมา เพื่อบ่ให้เกิดอันตรายโพยภัย ด้วยผีสางคางแดง
ข้อแปด เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนแปด ให้สูตรซำฮะบ้านเมือง สืบซะตาเมือง บูชา เทวดาอาฮักษ์ทั้งแปดทิศ บูชาพระรัสสีทั้งแปด สองพี่น้องพระยานาค 15 ตระกูล สูตรเถิงสามวันเจ็ดวัน แล้วให้ราษฎรฮอบเมืองยิงปืน หว่านหินแห่และ ทราย เพื่อให้หายพยาธิโรคา โพยภัยอันตราย ให้อยู่เย็นเป็นสุขแก่บ้านเมือง ทุกประการ
ข้อเก้า เป็นท้าวพระยาคันเถิงเดือนเก้า จำเริญ (ดับ) ให้ป่าวเตินราษฎรบ้านเมืองท่าน ห่อเข้าประดับดิน ไปหาปู่ย่าตายาย ลูกเต้า หลานเหลน อันเถิงแก่อนิจกรรม ไปสู่ ปรโลก ทั่วทุกแห่งแล้ว ให้เจ้านายเสนาข้าราชการ ทั่วบ้านเมืองสิบฮ้อย น้อยใหญ่ ลงมือถือน้ำพระพิพัฒนิสัยานุศัตย์อีกเทื่อหนึ่ง แล้วซ่วงเฮือฉลอง อุสุภนาคราช ปากดงและปากคาน กับพระยานาคสิบห้าตระกูล อันฮักษา บ้านเมือง จิ่งจะอยู่เย็นเป็นสุข เข้าก้าไฮ่นาบริบูรณ์
ข้อสิบ เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบเพ็งให้ป่าวราษฎร ให้ทานสลากภัตร หยาดน้ำ อุทิศไปหาเทพดาอาฮักษ์เมือง อันฮักษาพระพุทธศาสนา กับทั้งพ่อแม่เผ่าพงษ์ วงศาแห่งตนเทอญ
ข้อสิบเอ็ด เป็นท้าวพระยา เถิงฤดูเดือนสิบเอ้ดเพ็ง ให้ฉลองพุทธาภิเศก พระธาตุจอมศรี ทุกๆ ปีอย่าขาด ด้วยเป็นศรีบ้านศรีเมือง แล้วให้ไปไหว้พระภิกษุสังฆะเจ้า มา ขอดสิม (ผูกพัทธสีมา) ในสนามแล้วให้สังฆเจ้าปวารณาในที่นั้น คันแล้วกิจ สงฆ์ ให้สูตรถอนสิมนั้นเสีย บ้านเมืองจิ่งวุฒิจำเริญ เสนาอามาตย์จิ่งจักเป็น สามัคคี พร้อมเพียงกันจัดราชการบ้านเมือง จิ่งบ่ขัดข้องแก่กันและกัน คันเถิง แฮมค่ำหนึ่ง ให้ป่าวเตินราษฎรไหลเฮือไฟ บูชาพระยานาคสิบห้าตระกูล บ้านเมืองจิ่งจักอยู่สุขเกษมเติมครองแล
ข้อสิบสอง เป็นท้าวพระยา คันเถิงเดือนสิบสองขึ้นหนึ่งค่ำ ให้เตินหัวบ้านหัวเมือง สิบฮ้อย น้อยใหญ่ในขอบขันฑะสีมา เข้ามาโฮมพระนครหลวงพระบาง เป็นต้นว่า ข้าลาว ชาวดงดอย เพื่อแห่พระบาทสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิต ไปลงพ่วง (ด่วง) ส่วงเฮือ และนมัสการพระธาตุศรีธรรมาโสกราช คือ เดือนสิบสองขึ้นสามค่ำ ถือน้ำ ขึ้นสี่ค่ำ สิบสามค่ำ ซ่วงเฮือ ฉลองอุสุภนาคราช วัดหลวงให้เพียวัด มีเฮือ วันละลำ อัครมหาเสนาบดีตั้งแต่เมืองแสนเมืองจันทน์ ลงไปเถิงศรีสะคุต เมือง แกนาใต้นาเหนือ ให้ตั้งเป็นผามทุกตำแหน่ง เป็นเทศกาลบุญส่วงเฮือ ฉลอง พระยานาค 15 ตระกูล และพระเสื้อเมือง ทรงเมือง อาฮักษ์เมือง และมีเครื่อง กิยาบูชา เป็นต้นว่า โภชนะอาหาร ดอกไม้ ธูป เทียน สวายไปหาเทพยดา ทั้ง ทางน้ำและทางบก จิ่งจักอวยพร แก่บ้านเมืองอยู่เย็นเป็สุข และเดือนสิบสอง เพ็ง เสนาอามาตย์ และเจ้าราชคณะสงฆ์ ราษฎร พร้อมกันแห่พระบาทสมเด็จ พระเจ้ามหาชีวิต และเจ้าย่ำขม่อมทั้งห้าพระองค์ไปนมัสการพระธาตุศรีธรรมา โศกราช พร้อมทั้งเครื่องบูชา มีต้นเทียนและดอกไม้ บั้งไฟดอก ไฟหาง กะทุน ว่าย กองปิด กองยาวฮูปหุ่นละคอน ลิงโขนและเครื่องเล่นมหรสพต่างๆ ไปเล่น อยู่ที่เดิ่นหน้าพระลาน พระธาตุถ้วนสามวัน สามคืนแล้ว จิ่งเสด็จคืนมาเทอญ เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีซึ่งกันและกัน ข้าลาวชาวดอยทั้งหลาย ก็จักได้เห็นกัน และกัน และจักได้เว้าลมกัน เป็นมิตรสหายแก่กันและกัน จิ่งจักเป็นเกียรติยศ ฤชา ปรากฏแก่หัวบ้านเมืองน้อยใหญ่ อันอยู่ใกล้เคียงนั้นซะแล
ข้อสิบสาม เป็นท้าวพระยา ให้แต่งแปงทาวทุกอย่าง เป็นต้นว่า ถวายผ้ากะฐินและบวช พระหดเจ้า ตั้งมะไลไขมหาชาติ ฮักษาศีลห้าศีลแปดเป็นนิจกาล ทุกวันอุโบสถ และมีหัวใจอันเต็มไปด้วยพรหมวิหารทั้ง 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่เสนาอามาตย์ ราษฎร ข้าน้อยใหญ่ ในขอบเขต ขัณฑะสีมา อย่ามีใจอันกระด้างกระเดื่อง เคืองไปด้วยพาล เป็นต้นว่า ไปหลิ้น ป่าล่าเนื้อ จุ่งเลี้ยงนักปราชญ์ผู้อาจให้แก้วยังกิจการเอาไว้ และให้มีเสนา อามาตย์ผู้ฉลาดกล้าหาญกับทั้งสมณะชีพราหมณ์ ผู้ดีมีศีลบริสุทธิ์และความฮู้ สั่งสอนทายก อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลายเทอญ และให้ประกอบด้วย ทศพิธ- ราชธรรมสิบประการ บ้านเมืองจิ่งจะวุฒิจำเริญ แล
ข้อสิบสี่ เป็นท้าวพระยาให้มีสมบัติ อันประเสริฐ 14 ประการ คือ หูเมือง ได้แก่ราชฑูตผู้ฉลาดอาจนำเข้าออกต่างประเทศ ตาเมือง ได้แก่ทางหนังสือผู้ฉลาดอาจสอนอักขระบาลี แก่นเมือง ได้แก่พระสังฆะเจ้าฉลาดทรงธรรมทรงวินัย ประตูเมือง ได้แก่เครื่องศาสตราวุธทั้งหลายต่างๆสั่งสมไว้
ฮากเมือง
ได้แก่โหราศาสตร์อาจฮู้เหตุฮ้ายและดี
เหง้าเมือง
ได้แก่เสนาผู้เฒ่าแก่กล้าหาญมั่นคง
ขื่อเมือง
ได้แก่กวนบ้านและตาแสงราษฎรผู้ซื่อสัตย์
ฝาเมือง
ได้แก่ทแกล้วทหารผู้สามารถอาจทำยุทธกรรมกับข้าศึกชนะได้
แปเมือง
ได้แก่ท้าวพระยาองค์ประกอบด้วยศีลธรรมอันดีล้วน
เขตเมือง
ได้แก่ เสนาอามาตย์ ผู้ฉลาดฮู้เขตบ้านเมืองดินเมือง ว่าที่นั่นดีหรือบ่ มีคุณ หรือมีโทษ ฯลฯ
สติเมือง
ได้แก่เศรษฐีและพ่อค้าผู้มั่งมีเป็นดีฯลฯ
ใจเมือง
ได้แก่หมอยาวิเศษฮู้พยาธิใช้ยาถืกฯลฯ
ค่าเมือง
ได้แก่ภาคพื้นภูมิประเทศและพลเมืองฯลฯ
เมฆเมือง ได้แก่ เทพยดาอาฮักษ์ทั้งหลายเขตบ้านเมือง

ดังมีคำบรรยายไว้เป็นกลอนดังนี้
หูเมืองนั้น ได้แก่ ทูตาผู้คนดีฉลาด อาจนำความนอกพุ้นมาเข้าสู่เมือง ตาเมืองนั้น ได้แก่ นายหนังสือ เว้าคนดีผู้ฉลาด สามารถสอนสั่งให้บาลีก้อม คู่ซู่แนว สอนหมู่แถวพันธุ์เซื้อวงศ์ วานน้อยใหญ่ อันแก่นเมือง ได้แก่ สังฆะเจ้าผู้ทรงธรรมวินัยสูตรนี้ละเป็นแก่นแท้เมืองบ้านแห่งเฮา ประตูเมือง ได้แก่ ปืนหรือหน้าลาหลาว ง้าวหอก เครื่องอาวุธทุกชั้น ให้หั้นแหม่นประตู ที่พวกเสนา ข้ามนตรีฮักษาอยู่ ฮากเมือง นั้นได้แก่ โหราเจ้าหมอโหรผู้ฉลาด ฮู้เหตุดีและฮ้ายสิมาเข้าสู่เมือง เหง้าเมืองนั้น ได้แก่ เสนาผู้คนหาญเฒ่าแก่ เป็นผู้คงเที่ยงหมั้น บ่ผันลิ้นเปลี่ยนแปร อันขื่อเมือง ได้แก่ ตากวนบ้าน ตาแสงผู้สัตย์ซื่อ ราษฎรก็หากสุขอยู่ด้วยดอมเจ้าคู่ซู่กัน ฝาเมืองนั้น ได้แก่ พลาหาญกล้า โยธาทแกล้วเก่ง กับทหารผู้กล้าอาจฟันข้าหมู่เขา กับข้าเสิกสิเข้ามายาดชิงเมือง แปเมืองนั้น ได้แก่ คุณพระยาเจ้า ผู้ทรงธรรมทศราช เป็นผู้อาจเก่งกล้าผญาล้ำลื่นคน ผู้ตั้งในธรรม พร้อมและศีลธรรมสัตย์ซื่อ เป็นผู้ดียิ่งล้ำ พลข้าอยู่เกษม เขตเมืองนั้น ได้แก่ เสนา ข้ามนตรี ผู้อามาตย์ ผู้ฉลาดอาจรู้เขตบ้านและเขตเมือง บ่อนนั้นดีหรือฮ้ายมีคุณหรือบ่ นี้ละเป็นเขตบ้าน เมืองแท้อย่างดี สติเมือง ได้แก่ เศรษฐีเจ้า ผู้เป็นดีมีมั่ง และ ผู้ตั้งตลาดซื้อค้า หาซื้อจ่ายของ ผู้ที่ ทำถืกต้องครองราชธรรมเนียม บ่แม่นแนวโจโรหลอกหลอนลวงต้ม นี้ละเจ้าสติเมืองเกินมันแม่น อันใจเมือง ได้แก่ แพทย์ผู้ฮู้ยาแก้ใส่คน อันไทเฮาเรียกว่า หมอกล้า ผู้หายามาปัวปิ่น ฮู้จักพยาธิ ฮ้ายยาแก้ถืกกัน นี้ละเป็นใจแท้เมืองคนเจริญยิ่ง อีกค่าเมือง ได้แก่ ภูมิภาคพื้นดินฟ้าค่าแพง ภูมิประเทศ บ่อนแล้งหรือชุ่มดินงามอีกทั้งชาวพลเมืองก็ดั่งเดียวกันแท้ ผู้สิทำคุณให้เมืองตน เจริญเด่นและดินฟ้าหมู่นั้นสำคัญแท้กว่าเขา นี้ละสินำผลมาหลายอย่าง ของต่างๆ หมากไม้ ก็มี ด้วยแผ่นดิน เมฆเมืองนั้น ได้ เทพดาเจ้า มหาศักดิ์ตนอาจ อาฮักขาอยู่เฝ้าแถวนั้นเขตเมือง นี้กะ ดีเหลือล้นฮักษาสุขยิ่ง นี้กะเป็นมิ่งบ้านเมืองแท้อย่างดี มันหากเหมิดท่อนี้ครองราชราชาฯ
บทกลอนนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเฟื่องฟูรุ่งเรือง ทางวรรณคดีของชาวอีสานว่า มีอัจฉริยะ หรือเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนเพียงใด แม้แต่จารีตประเพณี อันเป็นกรอบสำหรับประพฤติปฏิบัติของ แต่ละบุคคล ตลอดจนกระทั่งกติกาในการปกครองบ้านเมือง สำหรับชนชั้นปกครอง ประดุจ รัฐธรรมนูญจารีตประเพณีของประเทศอังกฤษ ก็ยังจารึกไว้เป็นบทกลอน เพื่อที่จะให้เป็นภาษา ที่สละสลวย แพร่หลายจนซึมซาบเข้าถึงจิตใจของสมาชิกในสังคมทุกคนได้ง่าย
คองสิบสี่ของพระสงฆ์
ข้อหนึ่ง ให้พระสังฆะเจ้าสูตรเฮียน ธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าและฮักษาศีล 227 อย่าให้ ขาด

ข้อสอง ให้บัวละบัตรกูฏิวิหาร ปัดตากวาดถู อย่าให้วัดเศร้าหมอง
ข้อสาม ให้ปฏิบัติจัดทำไปตามศรัทธา ชาวบ้านนิมนต์มีการทำบุญให้ทาน บวชหด เป็นต้น
ข้อสี่ เถิงเดือนแปด ให้เข้าวัสสา ตลอดสามเดือน จนถึงเดือนสิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่ง แต่เดือน สิบเอ็ดแฮมค่ำหนึ่งไปหาเดือนสิบสองเพ็ง ให้ฮับผ้ากฐินฮักษาคองผ้าเถิงสี่เดือน

ข้อห้า ออกวัสสาแล้ว ฤดูเหมันตะ (ฤดูหนาว) ภิกขุสังฆะเจ้าเข้าปริวาสกรรม ฯลฯ
ข้อหก ให้เที่ยวไปบิณฑบาตร ตามบ้านน้อยบ้านใหญ่ อย่าให้ขาด
ข้อเจ็ด ให้สูตร ภาวนา ทุกคืน วัน อย่าขาด ฯลฯ
ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็ง ให้ประชุมกันทำอุโบสถ สังฆกรรม อย่าขาด
ข้อเก้า เถิงเทศกาลปีใหม่ ทายกไหว้ขี่วอ แห่น้ำไปสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ ฯลฯ
ข้อสิบ สังกาช ปีใหม่ พระเจ้ามหาชีวิต ไหว้พระ ให้สรงน้ำในวันพระราชวัง และบาสี พระสังฆะเจ้า
ข้อสิบเอ็ด ศรัทธาชาวบ้านนิมนต์สิ่งใด อันบ่ผิดคองวินัย ก็ให้ปฏิบัติตาม
ข้อสิบสอง เป็นสมณะให้พร้อมกันสร้างวัดวาอาราม พระธาตุเจดีย์
ข้อสิบสาม ให้ฮับทานของทายก คือ สังฆะภัตร สลากภัตร เป็นต้น
ข้อสิบสี่ พระเจ้ามหาชีวิต เสนาข้าราชการ มีศรัทธานิมนต์ มาประชุมกันในสิมแห่งใด แห่งหนึ่งในวันเดือนสิบเอ็ดเพ็ง เป็นกาละอันใหญ่อย่าได้ขัดขืน

หมายเหตุ คองสิบสี่ประการสำหรับพระสงฆ์นี้ เป็นหลักใหญ่ของพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ และได้สะท้อนให้เห็นท่วงทำนองการดำรงชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ในบวรพระพุทธ ศาสนา เป็นชีวิตที่เสียสละเพื่อประโยชน์คนส่วนมาก และเป็นคุณให้แก่ทางฝ่าย บ้านเมือง อย่างไม่มีข้อขัดแย้งที่จะเป็นศัตรูกันได้เลย ถ้าสองฝ่ายยึดมั่นในหลัก พระพุทธศาสนาอย่างเข้าร่วมกันจริงๆ

คองสิบสี่ของบุคลทั่วไป
ข้อหนึ่ง เมื่อเข้ากล้าหมากเป็นฮวง เป็นหมากแล้ว อย่าฟ้าวกินก่อน ให้เอาทำบุญให้ทาน แก่ผู้มีศีลกินก่อน แล้วจงกินภายลุน
ข้อสอง อย่าโลภตาส่าย อย่าจ่ายเงินแดง แปงเงินคว้าง และอย่ากล่าวคำหยาบซ้ากล้าแข็ง ต่อกัน
ข้อสาม ให้พร้อมกันเฮ็ดฮั้วต้าย และกำแพงอ้อมวัดวา อาฮาม และบ้านเฮือน
ข้อสี่ เมื่อเจ้าขึ้นเฮือนนั้น ให้สว่ายกล้างตีน เสียก่อนจิ่งขึ้น
ข้อห้า เมื่อเถิงวันศีล 7-8-14-15 ค่ำ ให้สมมา (ขอขมา) ก้อนเส้า แม่คีไฟหัวคันได และ ประตูที่ตนอาศัยซู่ค่ำคืน ข้อหก เมื่อจักนอนให้เอาน้ำส่วนล้างตีนก่อน จิ่งนอน
ข้อเจ็ด เถิงวันศีล ให้เอาดอกไม้ธูปเทียน สมมาผัวแห่งตน และเถิงวันอุโบสถให้แต่งดอกไม้ ธูปเทียนไปเคนพระสังฆเจ้า ข้อแปด เถิงวันศีลดับ ศีลเพ็งมานั้น ให้นิมนต์พระสังฆเจ้ามาสูตรมุงคุลเฮือน และทำบุญ ใส่บาตรถวายทาน
ข้อเก้า เมื่อพระภิกขุมาบิณฑบาตรนั้น อย่าให้เพิ่นคอยถ้า และเวลาใส่บาตรก็อย่าซุนบาตร และยามใส่บาตรนั้นอย่าใส่เกิบ (รองเท้า) กั้งฮ่มผ้าปกหัว อุ้มหลาน หรือถือเครื่อง ศาสตราอาวุธ ข้อสิบ เมื่อพระภิกขุเข้าปริวาสกรรม ซำฮะเบื้องต้นแล้ว ให้แต่งขันดอกไม้ธูปเทียนและ เครื่องอรรถบริขารไปถวายท่าน ข้อสิบเอ็ด เมื่อเห็นพระภิกขุสังฆะเจ้ากายมา ให้นั่งลงยอมือไหว้ก่อน และจั่งค่อยเจรจา
ข้อสิบสอง อย่าเหยียบย่ำเงาเจ้าพระภิกขุตนมีศีลบริสุทธิ์ ข้อสิบสาม อย่าเอาอาหารเงื่อนกินตนแล้วไปทานให้แก่พระสังฆะเจ้า และเอาไว้ให้ผัวกินจะ กายเป็นบาปได้ อันใดในชาติหน้าก็มีแต่แนวบ่ดี ข้อสิบสี่ อย่าเสพเมถุน กามคุณ ในวันศีล วันเข้าวัสสา ออกพรรษา วันมหาสงกรานต์ ถ้าดื้อ เฮ็ดได้ลูกได้หลานมา จะบอกยากสอนยาก ทั้ง

'ฮีตสิบสอง และ คองสิบสี่'สามารถสะท้อนตัวตนที่แท้จริงของคนอีสานในโบราณได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ตอนนี้จะมีวัฒนธรรมจากตะวันตก เข้ามาครอบงำ แต่ในคนในภาคอีสานส่วนใหญ่ ยังยึดถือปฏิบัติกันอยู่ แม้จะไม่เคร่งครัดเหมือนเมื่อก่อน แต่ยังพอมีให้เห็น โดยเฉพาะ 'ฮีตสิบสอง'นั้นยังมีให้เห็นอยู่ทั่วไป

"สุขขีมั่นเสมอมันเครือเก่า บ่ได๋เห็นหน้าเจ้า เห็นเสาเฮือนกะยังดี"




ที่มา
http://mblog.manager.co.th/petchr17/th-1337/

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้