ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

อาชีพของชาวอีสาน


อาชีพของชาวอีสาน
  1. การประกอบอาชีพ

    ปัจจัยความเป็นอยู่ของมนุษย์ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่มนุษย์ต้องทำงานเพื่อทำมาหากินเลี้ยงดูครอบครัว อาชีพหลักของชาวอีสานที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่ง คือ อาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือ ประมงน้ำจืด ด้านส่วนในด้านพาณิชยกรรม หัตถกรรม และอุตสาหกรรม ก็มีอยู่มากเช่นเดียวกันแต่ไม่ถึงกับเป็นอาชีพหลักที่สำคัญ ยกเว้นอาชีพหัตถกรรมที่ในปัจจุบันนี้เจริญขึ้นมาก

    อาชีพเกษตรกรรม

    1. การทำนา อาชีพนี้ถือว่าเป็นชีวิตจิตใจของชาวอีสาน โดยจะปลูกชาวอีสานจะปลูกข้าวเหนียวไว้สำหรับการบริโภคในครัวเรือน ปลูกข้าวเจ้าเพื่อจำหน่ายโดยเฉพาะข้าวหอมมะลิที่สามารถปลูกได้ดีในพื้นที่จังหวัดต่างๆ ของภาคอีสาน สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้เป็นอย่างดี




    2. การทำไร่ เนื่องจากพื้นที่ของภาคอีสานเป็นที่ราบสูง และมีเชิงเขาอยู่ทั่วไปจึงเหมาะที่จะปลูกพืชไร่ ได้แก่ ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฝ้าย มะเขือเทศและยางพารา เป็นต้น




    3. การทำสวนผลไม้ ได้แก่ น้อยหน่า มะม่วง ขนุน แตงโม มะขาม ส้มเขียวหวาน ทุเรียน เงาะ ลิ้นจี่ แก้วมังกร ฯลฯ ซึ่งได้ผลผลิตไม่มากนัก




    4. การปศุสัตว์ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญในภาคอีสาน ได้แก่ โค กระบือ สุกร และไก่ ซึ่งมีการเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะโคและกระบือพันธุ์พื้นเมือง ในปัจจุบันเกษตรกรจะเลี้ยง โค – กระบือพันธุ์ผสมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
    5. การประมง นอกจากการจับสัตว์น้ำที่มีอยู่ในธรรมชาติแล้ว ชาวอีสานยังประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปลาดุก ปลาช่อน ปลาตะเพียน เป็นต้น




    6. การอุตสาหกรรม ชาวอีสานจะมีอาชีพหลักคือ อาชีพเกษตรกรผลผลิตทางเกษตร นอกจากจะนำมาจำหน่ายในลักษณะผลิตผลปฐมภูมิแล้ว ส่วนที่เหลือสามารถนำมาผลิต ในอุตสาหกรรมการเกษตรได้อีกด้วย เช่น สับปะรด และมะเขือเทศ เป็นต้น

      นอกจากนี้ยังมีอุตสากรรมหนัก ได้แก่ โรงงานทอกระสอบในจังหวัดขอนแก่น อุตสาหกรรมปูนซิเมนต์ในจังหวัดนครราชสีมา โรงงานน้ำตาลในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น

    7. การท่องเที่ยวและการบริการ ภาคอีสานเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญมีโบราณสถานและโบราณวัตถุเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ภาคอีสานยังมีประเพณีฮีต 12 ที่เป็นเอกลักษณ์ ทัศนียภาพที่สวยงาม และปัจจุบันยังมีสะพานมิตรภาพ ที่ติดต่อกับประเทศลาวสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเวียดนาม ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวมาในภาคอีสาน จึงธุรกิจเกี่ยวกับโรงแรมพัก ที่พัก ร้านอาหาร รถรับจ้าง สถานบันเทิงต่างๆ ร้านจำหน่ายของที่ระลึก ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่



    8. ศิลปหัตถกรรม ศิลปหัตถกรรมของภาคอีสานเป็นที่ยอมรับของคนไทยทุกภาคในประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ดังได้กล่าวมาแล้วยังมีงานศิลปหัตถกรรมที่สำคัญๆ ได้แก่

      เครื่องปั้นดินเผา มีกระจายอยู่ในหลายจังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา อุดรธานี ขอนแก่น อุบลราชธานี เครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะสำหรับการใช้สอย เช่น หม้อหุงข้าว หม้อนึ่งข้าว โอ่งน้ำ และกระถางปลูกต้นไม้ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ เป็นต้น

      เครื่องจักสาน เครื่องจักสานในภาคอีสานมีการผลิตในทุกจังหวัด เพราะทุก ครัวเรือนต้องใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจำวัน เช่น กระติบข้าว ก่องข้าว กะบุง ตะกร้า เป็นต้น


      ชีวิตความเป็นอยู่และอาชีพของท้องถิ่น ได้มีการเรียนรู้โดยการบอกกล่าวสอนและประพฤติปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาซึ่งได้มีวิวัฒนาการแปรเปลี่ยนไปตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ปัจจุบันชาวอีสานได้นำความรู้จากอดีตบางอย่างอาจจะนำมาปรับใช้กับสภาพชีวิตในปัจจุบันด้วย เช่น การนำยาสมุนไพรพื้นบ้านมาใช้ในการรักษาโรค การรู้จักแสวงหาอาหารจากธรรมชาติแบบพึ่งตนเอง การประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพของท้องถิ่น ฯลฯ





ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les6_01.html

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้