ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

ภาษาอีสาน


ภาษาท้องถิ่น

ประเทศไทยของเรามีภาษาเป็นของตนเอง ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติเปรียบเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่ให้ร่มเงา ส่วนภาษาถิ่นเปรียบเสมือนกิ่งก้านสาขาของต้นไม้ใหญ่นั้น ทุกภาคของ ประเทศไทย เช่น ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล้วนมีภาษาประจำท้องถิ่น นอกจากนั้นยังแยกย่อยลงไปตามท้องถิ่นจังหวัดต่างๆ ได้อีกมาก ภาษาถิ่นของภาคต่างๆ นั้นมีความงดงามไพเราะลึกซึ้งอยู่ในตัว อีกทั้งยังเป็นรากเหง้าของภาษาไทยที่ดี ภาษาในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันในการออกเสียง การใช้คำและอรรถรส

ภาษาท้องถิ่น หมายถึง เครื่องมือของมนุษย์ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อทำความเข้าใจระหว่างบุคคลหนึ่งไปสู่บุคคลหนึ่งหรือหลายคนได้ เป็นภาษาที่กลุ่มชนส่วนใหญ่ในภาคอีสานใช้ในการติดต่อสื่อสาร

สภาพทั่วไปของภาษาท้องถิ่นอีสาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

  1. ภาษาพูด

    ประชากรในภาคอีสานส่วนใหญ่พูดภาษาไทยสำเนียงอีสานซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ แต่ประชากรส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนหนุ่มสาวในปัจจุบันสามารถพูดสำเนียงไทยภาคกลางได้เป็นอย่างดี ภาษาท้องถิ่นแบ่งตามภาษาพูดได้ 3 ประเภท ดังนี้

    1. กลุ่มไทย-ลาว ใช้กันทั่วๆ ไปในจังหวัดอุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ขอนแก่น อุดรธานี นครพนม หนองคาย เลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ และ บางส่วนของจังหวัดสกลนคร ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และนครราชสีมา
    2. กลุ่มเขมร ส่วย (กูย, กวย) เยอ ใช้พูดในบางส่วนของจังหวัดศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ น่าจะเป็นภาษาพื้นเมืองเดิมสมัยขอมเรืองอำนาจในภูมิภาคนี้
    3. กลุ่มไทยโคราชหรือไทยเบิ้ง ใช้พูดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา

    นอกจากนี้ยังมีภาษาถิ่นย่อยๆ อีก เช่น ภาษาผู้ไทย ภาษาย้อ ภาษาแสก ภาษาพวน ภาษากะเลิง กะโส้ (ในจังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร) ซึ่งน่าจะเป็นภาษาของชนกลุ่มน้อยที่ถูกเกลี้ยกล่อมอพยพมาจากลาวตอนบน ในสมัยรัชกาลที่ 3

    การศึกษาภาษาท้องถิ่นอีสานในครั้งนี้ จะหมายถึงภาษาที่ใช้กันในภาคอีสานที่เป็นภาษาของกลุ่มชนส่วนใหญ่ ที่เรียกว่า ภาษาไทย - ลาว

    การใช้คำของภาษาท้องถิ่นอีสาน

    การใช้คำในภาษาท้องถิ่นอีสานเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ภาษาอีสานแตกต่างไปจากภาษา ภาคกลาง เนื่องจากการนิยมใช้คำในการพูดจาสื่อสารในภาคอีสานเป็นไปตามความนิยมและ การรับรู้ของประชาชนในสังคมนั้นๆ ดังตัวอย่าง ดังนี้

    1. ความหมายเดียวกันภาอีสานและภาคกลางใช้คำต่างกัน
      ภาคอีสาน
      เว้า เช่น เว้าสาว, ปาก เช่น ปากบ่อเป็น
      ตั๊ว เช่น ขี้ตั๊ว – โกหก
      บางเทื่อ
      เซา
      เฮ็ดเวียก
      เงี่ยง เอาเงี่ยงไปถอกถิ้ม (เอากระโถนไปเท)
      แซบ แซบอีหลี
      เสี่ยว
      แป้น
      ม่วน ม่วนหลาย
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      พูด
      ปด โกหก
      บางครั้ง บางที
      หยุด
      ทำ ทำงาน
      กระโถน
      อร่อย อร่อยมาก
      เพื่อนสนิท
      ไม้กระดาน
      สนุก สนุกมาก
      ฯลฯ
    2. คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันภาษาอีสานนิยมใช้คำต่างกับภาคลาง
      ภาคอีสาน
      บางเทื่อ
      กกไม้
      เบิ่งตากัน
      เหิง
      เจ็บแข่ว
      ญ่าง
      แปง (แปลง)
      เดือนแจ้ง
      ตำ ตำหูก
      สิม สีมา
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      บางครั้ง บางที
      โคนต้นไม้
      สบตากัน
      นาน
      ปวดฟัน
      เดิน
      ซ่อม สร้าง
      เดือนหงาย
      ทอผ้า
      โบสถ์
      ฯลฯ
    3. ภาษาอีสานและภาษากลางใช้คำเดียวกันแต่ออกเสียงต่างกัน
      ภาคอีสาน
      ก้า
      กาง
      กะแย้ง
      เข่าโคด
      ฟ้าแมบ
      โลก
      หญ่า
      เฮ้า เฮา
      เฮือ
      ฮัก
      ฯลฯ
      ภาคกลาง
      กล้า
      กลาง
      แขยง
      ข้าวโพด
      ฟ้าแลบ
      โรค
      หญ้า
      เรา
      เรือ
      รัก
      ฯลฯ
  2. ภาษาเขียน

    การจดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของกลุ่มชนส่วนใหญ่ในภาคอีสาน (กลุ่มไทย-ลาว) ตัวอักษรที่ใช้ คือ อักษรธรรม (สกุลอักษรมอญ) ใช้จารึกเรื่องราวทางศาสนา และอักษรไทยน้อย (สกุลพ่อขุนรามคำแหง) ใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งต่างไปจากตัวอักษรไทยในภาคกลาง นอกจากนี้ชาวอีสานนิยมใช้ใบลานมากกว่ากระดาษ (ทั้งกระดาษสาและสมุดข่อย) สำหรับตัวอักษรขอมนั้น พบว่า มีการใช้ในสมัยพระนคร หรือขอมโบราณ เมื่อสิ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ. 1724 - 1762) ขอมเริ่มเสื่อมอำนาจลงจึงไม่ปรากฏหลักฐานทางภาษาขอมใดๆ ต่อเนื่องมาจนกระทั่งเกือบ 300 ปีต่อมา จึงปรากฏวัฒนธรรมไทย- ลาว ในดินแดนแถบนี้แต่ไม่พบว่า กลุ่มวัฒนธรรมไทย-ลาวได้ใช้อักษรขอมในการเขียนหนังสือใดๆทั้งสิ้น ซึ่งต่างจากสุโขทัย ที่ใช้อักษรขอมเขียนทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีมาตลอดจนถึงสมัยกรุงเทพฯ

    หนังสือโบราณอีสาน มี 3 ประเภท คือ

    1. หนังสือผูก (หนังสือใบลาน) ได้แก่
      • หนังสือผูก คือ หนังสือใบลานที่จาร (เขียน) วรรณกรรมท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็น วรรณกรรมนิทาน เช่น จำปาสี่ต้น นางผมหอม ท้าวก่ำกาดำ ฯลฯ เป็นต้น
      • หนังสือก้อม คือ หนังสือใบลานขนาดสั้นประมาณ 1 ฟุต ใช้จดบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของบุคคล เช่น คาถาอาคม ตำราเวทมนต์ บทหมอลำหรือวรรณกรรมสั้นๆ
      • หนังสือเทศน์ คือ ใบลานที่บันทึกวรรณกรรมนิทานชาดก หรือคัมภีร์พุทธศาสนาอื่นๆ หนังสือเทศน์จะมีขนาดยาวกว่าหนังสือผูกและหนังสือก้อม
    2. หนังสือเจี้ย (สมุดข่อย) คือ หนังสือที่เขียนลงบนกระดาษข่อย (สมุดข่อย) ซึ่งพบจำนวนน้อยมาก การใช้หนังสือเจี้ยจะใช้ในสมัยที่ได้เรียนรู้จากตำราทางวิชาการจากภาคกลางแล้ว นอกจากการบันทึกด้วยตัวอักษร บางฉบับจะมีภาพประกอบด้วย
    3. หนังสือเจียง (อักษรจารในติวไม้ไผ่) คือ หนังสือที่บันทึกลงในติวไม้ไผ่ (ผิวหรือเปลือกนอก) ร้อยด้วยเชือกให้ติดกันเป็นแผง (เหมือนชาวจีนเขียนหนังสือตำราในติวไม้ไผ่สมัยโบราณ) เรื่องราวที่บันทึกนั้นเป็นคำเซิ้ง โดยเฉาะคำเซิ้งบั้งไฟ หรือเซิ้งในพิธีกรรมต่างๆ




ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les3_01.html

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้