ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

ชนเผ่าพื้นเมืองในภาคอีสาน




ชนเผ่าพื้นเมืองในภาคอีสาน

ชนเผ่าไทยญ้อ (ญ้อ)

ประวัติความเป็นมาของชาวไทยญ้อ ถิ่นฐานเดิมของไทยญ้อ อยู่ที่เมืองหงสา แขวงไชยบุรี ของประเทศลาวหรือจังหวัดล้านช้างของไทยสมัยหนึ่ง ไทยญ้อส่วนใหญ่ได้อพยพ มาตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ไชยบุรี ปากน้ำสงครามริมฝั่งแม่น้ำโขง (ตำบลไชยบุรี อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน) ในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อ พ.ศ. 2351 ต่อมาเมื่อเกิดกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ในสมัย รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2369) พวกไทยญ้อที่เมืองไชยบุรีได้ถูกกองทัพเจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนไปแล้วให้ไปตั้งเมืองอยู่ ณ เมืองปุงลิง ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (อยู่ในเขตแขวงคำม่วนประเทศลาว) อยู่ระยะหนึ่งต่อมาได้กลับมาตั้งเมืองขึ้นใหม่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงตั้งเป็นเมืองท่าอุเทนเมื่อ พ.ศ. 2373 คือ บริเวณท่าอุเทน จังหวัดนครพนมในปัจจุบัน


ชนเผ่าผู้ไทย
อาศัยในเขตตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมาชนเผ่าผู้ไทย ชาวผู้ไทยเป็นชาวจังหวัดนครพนมเผ่าหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเขต อำเภอเรณูนคร อำเภอนาแก อำเภอธาตุพนม อำเภอนาหว้า เดิมตั้งถิ่นฐานในแคว้นสิบสองจุไทย แคว้นสิบสองปันนา ชาวผู้ไทย ได้อพยพจากฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ตามตำนานของชาวผู้ไทยเรณูนคร กล่าวไว้ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าที่เมืองน้ำน้อยอ้อยหนูหรือแถน มีปู่เจ้าลางเซิง ขุนเค็ก ขุนคาง ปกครองชาวผู้ไทย เมื่อเกิดทุกภิกขภัยพญากา หัวหน้าผู้ไทยคนหนึ่งได้เกิดขัดแย้งกับเจ้าเมือง จึงชักชวนผู้ไทยจำนวนหนึ่งมาอยู่ที่เมืองวังอ่างคำแขวง สุวรรณเขตปัจจุบัน ที่เมืองแห่งนี้มีชาวข่าอาศัยอยู่ก่อนแล้วจึงเกิดพิพาทกันขึ้นต่อมาผู้ไทยถูกชาวข่าและจีนฮ่อบุกรุกทำลายเผ่าบ้านเรือน และจับเอาพญาเตโชหัวหน้าชาวผู้ไทยไปเมืองจีน พญาเตโชได้สั่งลูกหลานว่า อย่าอยู่เมือวังวเลยให้อพยพไปอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเสียเถิด

ชาวผู้ไทยโดยการนำมาของท้าวเพชร ท้าวสาย จึงพาชาวผู้ไทยจากเมืองวัง เข้ามาอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยการต่อเรือและแพล่องมาตามแม่น้ำโขง ข้ามมาขึ้นฝั่งที่บ้านพระกลางท่าเขตอำเภอธาตุพนม พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนมเวลานั้นได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ ดงหวายสายบ่อแก ชาวผู้ไทยจึงอพยพกันต่อไปและตั้งบ้านเรือนขึ้นใหม่ให้ชื่อว่า เมืองเว รัชกาลที่ 3 จึงโปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวสายเป็น พระแก้วโกมล เจ้าเมืองคนแรกและยกเป็นเมืองเรณูนครขึ้นกับเมืองนครพนม ปัจจุบันคือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพรม

เผ่าไทยกะเลิง
อาศัยในเขต ตำบลคำเตย อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา กะเลิงเป็นชาวกลุ่มน้อยที่เป็นชาติพันธุ์ ทางภาษากลุ่มหนึ่ง เช่นเดียวกับชนกลุ่มญ้อ โส้ แสก ผู้ไทยและเวียดนาม ซึ่งมีอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม กะเลิงมีถิ่นฐานเดิมอยู่ทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ชนกลุ่มกะเลิงได้อพยพมาตั้งแหล่งอยู่ในประเทศไทยเมื่อประมาณ 100 ปีเศษ ตั้งแต่มีการปราบเจ้าอนุวงศ์ในรัชกาลที่ 3 และมีการอพยพครั้งใหญ่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อเกิดศึกกบฏฮ่อในปี พ.ศ. 2416 ปัจจุบันมีชนกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในประเทศไทย ที่จังหวัดนครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มุกดาหาร

จังหวัดนครพนมมีกลุ่มอำเภอเมืองกลุ่มกะเลิงที่ บ้านกุรุคุ หนองหญ้าไซ นาปง ไทสามัคคี ตำบลกุรุคุ บ้านนาโพธิ์ บ้านผึ้ง วังกะแส นามน เทพนม ดงสว่าง บ้านขามเฒ่า ตำบลขามเฒ่า บ้านดงขวาง บ้านคำเตย หัวโพน ตำบลนาทรายบ้านเวินพระบาท บ้านยางนกเหาะ บ้านนาโสกใต้ บ้านนาโสกเหนือ บ้านม่วง อำเภอนาแก บ้านโพนสว่าง บ้านโพนแดง ตำบลนาแก บ้านพระซอง ตำบลพระซอง อำเภอธาตุพนม บ้านนาถ่อน ตำบลนาถ่อน บ้านดอนนาหงส์ อำเภอเรณูนครตำบลเรณูนคร ตำบลนางาม ตำบลนายอ อำเภอปลาปาก บ้านปลาปาก ตำบลปลาปาก บ้านโนนทัน บ้านผักอีตู่ บ้านนองกกคูณบ้านนาสะเดา บ้านโนนทันกลาง ตำบลหนองฮี บ้านนาเชือก ตำบลหนองเพาใหญ่ บ้านวังม่วง ตำบลมหาชัย

เผ่าไทแสก
อาศัยในเขตอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา แสก เป็นชนกลุ่มน้อยภาคอีสานเผ่าหนึ่งในจำนวนหลายๆ เผ่าที่มีอยู่ในประเทศไทย เดิมชาวแสกมีภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองรองขึ้นกับกรุงเว้ อยู่ทางตอนกลางของประเทศเวียดนามและจีน ชนเผ่าแสกเป็นชนเผ่าที่มีความอุสาหะบากบั่น ยึดมั่นในความสามัคคี เมื่อเห็นภูมิลำเนาเดิมไม่เหมาะสมจึงได้รวมสมัครพรรคพวกอพยพหาที่อยู่ใหม่ โดยอพยพลงมาตามลำน้ำโขงแล้วมาตั้งถิ่นฐานชั่วคราวอยู่ระหว่างประเทศเวียดนามกับประเทศลาว โดยมี ท้าว กายซุ และท้าวกายชา เป็นหัวหน้าในการอพยพ

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองแห่งกรุงศรีอยุธยากษัตริย์ของไทย ชาวแสก ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานมาอยู่ที่ป่าหายโศก การอพยพของชาวแสกแต่ละครั้งนั้น ไม่ได้ถูกบังคับหรือถูกข่มแหงแต่อยู่ใด เมื่อชาวแสกเห็นว่าบริเวณป่าหายโศก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรต่างๆ จึงได้อพยพกันมาประกอบอาชีพอยู่แห่งนี้เรื่อยมา

จนถึงสมัยพระสุนทรเป็นเจ้าเมืองได้พิจารณาเห็นว่าชาวแสกมีความสามารถและความเข้มแข็ง สามารถปกครองตนเองได้จึงได้ยกฐานะของชาวแสกขึ้นเป็นเมืองโดยได้เปลี่ยนชื่อใหม่จากป่าหายโศก เป็นเมืองอาจสามารถ หรือบ้านอาจสามารถ จนทุกวันนี้

เมื่อได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองแล้ว ชาวแสกต่างพากันโยกย้ายที่อยู่ไปทำมาหากินในต่างถิ่นอีกก็มี เช่น บ้านไผ่ล้อม (ตำบลอาจสามารถ) บ้านดงสมอ บ้านบะหว้า (อำเภอนาหว้า) ในพื้นที่อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และที่บ้านโพธิ์คำ (ประเทศลาว) ชาวแสกเหล่านี้ ล้วนเป็นเชื้อสายและเป็นญาติพี่น้องกับชาวแสกที่บ้านอาจสามารถ

จากคำบอกกล่าวของชาวแสกทราบว่า ปัจจุบันยังมีเผ่าแสกที่อยู่แคว้นสิบสองปันนาที่ประเทศจีน และที่สมุทรปราการ ประเทศไทยอีกด้วย

เผ่าไทยโส้หรือไทยกะโซ่
อาศัยอยู่ในเขต อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา ชาวไทยโส้ในพื้นที่จังหวัดนครพนม เป็นชาวไทยตระกูลเดียวกันกับพวกบรู หรือพวกไทยข่า นักมนุษยวิทยาถือว่าพวกไทยโซ่เป็นชาติพันธุ์ของมนุษย์ ในกลุ่มมองโกเลียด์ มีภาษาขนบธรรมเนียมประเพณีแตกต่างไปจากพวกไทยข่า แต่ภาษานั้นถือว่า อยู่ในตะกูลออสโตรอาเซียติดสาขามอญเขมรหรือตะตู ซึ่งสถาบันวิจัยภาษาฯ ของมหาวิทยาลัยมหิดลได้รวบรวมไว้บทความเรื่องภาษาตระกูลไทย

พวกกะโซ่ซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ตั้งขึ้นเป็นเมืองหลายเมือง คือ เมืองรามราช เป็นชาวกะโซ่จากเมืองเซียงฮ่ม ในแขวงสุวรรณเขต ตั้งขึ้นเป็นเมืองรามราช ขึ้นกับเมืองนครพนม เมื่อ พ.ศ. 2387 โปรดเกล้าฯ ตั้งให้ท้าวบัว แห่งเมืองเชียงฮ่ม เป็นพระทัยประเทศ เป็นเจ้าเมืองเป็นคนแรก ปัจจุบันเป็นพื้นที่รามราช ตำบลพระทาย ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน ตำบลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนมเป็นหมู่บ้านชาวไทยโส้

นอกจากนั้นยังมีชาวไทยโส้อยู่ในท้องที่อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนมอีกหลายหมู่บ้าน เช่น ตำบลโคกสูง และบ้านวังตามัว ในท้องที่อำเภอเมืองนครพนม

ศิลปะ วัฒนธรรมกะโส้ซึ่งรักษาไว้เป็นเอกลักษณ์ประจำเชื่อชาติ ที่เด่นชัดก็คือโซ่ทั่งบั้ง หรือภาษากะโซ่เรียกว่า สะลา เป็นพิธีการในการบวงสรวงวิญญาณของบรรพบุรุษประจำปีหรือเรียกขวัญและรักษาคนป่วย กับพิธี ซางกระมูด ในงานศพ

ไทยข่า
อาศัยในเขตอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

ประวัติความเป็นมา ไทยข่าเป็นชาวไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังพอมีหลงเหลือบ้างในพื้นที่จังหวัดนครพนมแต่ไม่ปรากฏให้เป็นชุมชนชัดเจนจะมีเพียงครอบครัวที่แทรกอยู่ในชุมชนอยู่ในพื้นที่อำเภอนาแกตามหมู่บ้านแถบเทือกเขาภูพาน ซึ่งเป็นรอยต่อกับอำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร อำเภอดงหลวง จะมีชาวข่าอาศัยอยู่มาก ในอดีตจังหวัดมุกดาหารเป็นอีกอำเภอหนึ่งที่ขึ้นต่อจังหวัดนครพนมรวมถึงอำเภอดงหลวงด้วย ปัจจุบันอำเภอมุกดาหารได้เลื่อนเป็นจังหวัด และอำเภอดงหลงก็ไปขึ้นเป็นสังกัดมุกดาหารด้วย ชุมชนไทยข่าในจังหวัดนครพนมจึงไม่ปรากฏให้เห็นเด่นชัด จึงมีเพียงกระจัดกระจายเป็นบางครอบครัวในชุมชนต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว

ไทยข่ามีถิ่นดั้งเดิมอยู่แขวงสุวรรณเขตสาละวัน และอัตปือ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และได้อพยพเข้ามาอยู่ในพื้นที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา

นักมนุษยวิทยาถือว่า ชาวไทยข่าเป็นเผ่าดั้งเดิมในแถบกลุ่มแม่น้ำโขง สืบเชื้อสายมาจากขอมโบราณภายหลังขอมเสื่อมอำนาจลง ภาษาของชาวไทยข่าเป็นภาษาในตระกูลออสโตรอาเชียติก ในสมัยมอญเขมร ชาวไทยข่ามิได้เรียกตัวเองว่าชาวไทยข่า แต่จะเรียกตัวเองว่าพวกบรู

คำว่า ข่า อาจมาจาก ข้าทาส ซึ่งสำเนียงอีสานจะออกเสียง ข่าทาส เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดพวกบรูมาเป็นข้าทาสรับใช้กันมาก จึงเรียกกันมาว่าไทยข่า

ไทยอีสาน

ไทยอีสาน เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ พูดภาษาไทย-ลาว (ภาษาอีสาน เป็นกลุ่มผู้นำทางด้านวัฒนธรรมภาคอีสาน เช่น ฮีต คอง ตำนาน อักษรศาสตร์ จารีตประเพณี นิยมตั้งหมู่บ้านเป็นกลุ่ม บนที่ดอนเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โนน" ยึดทำเลการทำนาเป็นสำคัญ อาศัยอยู่ทั่วไป







ที่มา http://www.baanjomyut.com/library/2552/indigenous_nakhonphanom/07.html

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้