ค้นหาบล็อกนี้

หวาย

วัฒนธรรมทางด้านอาหารในภาคอีสาน


วัฒนธรรมท้างอาหารในภาคอีสาน

ภาคอีสานมีพืชพันธุ์ธัญญาหารอุดมสมบูรณ์ ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ อาหารการกินที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับผลผลิตของแต่ละอาชีพอาหารที่จัดว่ามีความสำคัญควบคู่กับความเป็นอยู่ของชาวอีสานตลอดมาคือ ข้าวและปลา จนมีคำพูดติดปากว่า “มาเยอมากินข้าวกินปลา” แสดงให้เห็นว่า อาหารการกินหลักของชาวอีสานคือข้าวกับปลา ข้าวที่คนไทยทั่วไปและคนในภาคอีสานบริโภคมีทั้งข้าวเหนียวและข้าวจ้าว ข้าวที่ใช้เวลาปลูกนานกว่าจะได้เก็บเกี่ยวเรียกว่า “ข้าวหนัก” ข้าที่ให้ผลเร็วใช้เวลาปลูก ไม่กินเวลานานนักก็สามารถเก็บเกี่ยวได้เรียกว่า “ข้าวเบา” มีคำกลอนวรรณกรรมอีสานพูดถึงข้าวที่มีความจำเป็นต่อชีวิตว่า

" ทุกข์บ่มีเสื้อผ้า ฝาเฮือนดีพอลี้อยู่
ทุกข์บ่มีข้าวอยู่ท้อง ซินอนลี้อยู่บ่เป็น "

หมายความว่า แม้จะทุกข์จนขนาดใด เสื้อผ้าไม่มีจะสวมใส่ ถ้าฝาบ้านดีก็อหลบซ่อนอยู่ได้ แต่ถ้าทุกข์ จนไม่มีข้าวจะกิน จะนอนหลบอยู่ไม่ได้ คนอีสานจึงขยันขันแข็งในการทำมาหากินเพราะกลัวความจน ไม่ให้ขาดแคลน ซึ่งต่างจากวรรณกรรมของภาคเหนือที่กล่าวว่า

" ตุ๊กบ่ได้กิ๋น บ่มีไผต๋ามไฟส่องต๊อง
ตุ๊กบ่ได้เอ้ได้ย่อง ชาวบ้านเปิ้นแคน "

หมายความว่า ทุกข์ไม่ได้กิน ไม่มีใครเอาไฟส่องท้องดู ทุกข์ไม่ได้แต่งตัวโก้ได้เก๋ชาวบ้านเขาดูแคลน

ประเภทของอาหารอีสาน

อาหารอีสานนอกจากมีข้าวและปลาแล้ว ยังมีอาหารประเภทซี้น (เนื้อ) สัตว์ ผัก ผลไม้ต่างๆ อีกมากมาย ธรรมเนียมการประกอบอาหารของคนอีสานนั้นมีความพิถีพิถันประณีต บรรจงมาก แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. อาหารคาว คือ ของกินพร้อมกับข้าว เพื่อเพิ่มรสชาติและคุณค่าทางอาหารกับข้าว ของชาวอีสานได้แก่ ปลา เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ กับข้าวของคนอีสานมีหลายประเภท ได้แก่
    • ลาบ ก้อย ส่า แซ หรือ แซ่ ซุบ
    • แกง อ่อม อ๋อ คั่ว อู๋
    • หมก นึ่ง หลาม
    • ปิ้ง ย่าง
    • ดอง หมัก ตากแห้ง กวน
    • ชูรสอาหาร ได้แก่ ป่นปลา (น้ำพริกปลา) แจ่ว (น้ำพริกต่างๆ) ส้มตำประเภทต่างๆ



  2. อาหารหวาน ขนมและอาหารว่าง มีมากมายหลายชนิด ส่วนใหญ่มีเครื่อง ประกอบ 5 อย่าง แป้งข้าวจ้าว แป้งข้าวเหนียว มะพร้าว น้ำอ้อย – น้ำตาล ไข่ ถั่ว งา ซึ่งพอจำแนกได้ ดังนี้คือ
    1. ประเภทต้ม ได้แก่ ต้มถั่วดำ กล้วยบวชชี บวชฟักทอง ข้าวเหนียวแดง ข้าวปาด ข้าวหลิ่ม (ข้าวตอกผสมน้ำอ้อยที่เคียวเป็นยางมะตูม)
    2. ประเภทนึ่ง ได้แก่ ขนมหมก (ขนมเทียน) ข้าวต้มมัด
    3. ประเภทปิ้ง คั่ว ได้แก่ กล้วยปิ้ง มันปิ้ง ข้าวเม่า ข้าวตอกแตก (ข้าวตอก
    4. ประเภทอาหารว่าง ได้แก่ ข้าวโป่ง ข้าวหลาม ข้าวปุ้น (ขนมจีน) ข้าวละส่อง (ลอดช่อง)



  3. ผักและผลไม้ ผักและผลไม้เป็นอาหารที่ได้จากพืชและผลผลิตจากพืช คนอีสานนิยมรับประทานผักกันมากถือเป็นส่วนประกอบของการกินกับอาหารคาวแทบทุกชนิด ส่วนประกอบที่กินได้ มีดังนี้
    1. ราก เช่น รากบัว ฯลฯ
    2. หัว เช่น เผือก มันชนิดต่างๆ กลอย หอม กระเทียม ขิงข่า ฯลฯ
    3. ใบ เช่น ผักติ้ว ผักเม็ก ผักกะโดน ฯลฯ
    4. ดอก เช่น ดอกแค กะหล่ำดอก ฯลฯ
    5. ผล เช่น ลิ้นฟ้า เพกา แตงอ่อน มะเขือ แตงโม หมากหูลิง หมากหวดค่า ฯลฯ
    6. อื่นๆ เช่น เห็ดต่างๆ เทา (สาหร่ายน้ำจืด) ไข่ผำ (ไข่น้ำ)




    ภาพผักพื้นเมืองอีสาน




    ภาพผลไม้พื้นเมืองอีสาน

  4. เครื่องดื่ม เครื่องดื่มของคนอีสานมีหลายชนิด ส่วนมากจะทำจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น น้ำมะพร้าว น้ำตาลสด น้ำอ้อยสด เป็นต้น

    วิธีการกินของคนอีสาน ธรรมเนียมของคนอีสานแต่โบราณ การบริโภคอาหารนั่งราบกับพื้นบนสาด (เสื่อ) กับข้าวใส่ขันโตกหรือพาข้าว (ถาด) ข้าวเหนียวนึ่งสุกและขันน้ำวางข้างๆ วิธีกินอาหารใช้มือเป็นพื้น อาหารที่มีน้ำพวกต้มหรือแกง ในอดีตจะใช้บ่วงที่ได้จากเปลือกหอย การใช้ช้อนหรือซ่อมมีภายหลังเมื่ออารยธรรมของยุโรปเผยแพร่เข้ามา





ที่มา http://online.benchama.ac.th/social/kanokporn/les6_01.html

ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้